พิพิธภัณฑ์ประติมากรรม อาซากุระ ฟูมิโอะ : สุนทรียภาพใหม่แห่งการผสมผสานบ้านญี่ปุ่นและสตูดิโอตะวันตก

Asakura Fumio Museum of Sculpture: A New Aesthetics of Blending Japanese Houses and Western Studios

Authors

  • ไพฑูรย์ ทองดี

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์และผลงานประติมากรรมของอาซากุระ ฟูมิโอะ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยศึกษาผ่านรูปแบบการสร้างพิพิธภัณฑ์ ที่มีทั้งรูปแบบอาคารที่พักอาศัยแบบญี่ปุ่น ผสานกับสตูดิโอแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกอันเป็นการแสดงถึงแนวความคิดและสุนทรียภาพของศิลปิน ผู้มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งให้ประโยชน์ต่อผู้สนใจทั้งงานของการสร้างพิพิธภัณฑ์ ที่มีความสัมพันธ์ ระหว่างรสนิยมรูปแบบทางศิลปะ และวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ผสมผสานและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีเอกลักษณ์ และมีคุณค่า ทั้งนี้ จากการศึกษาเก็บข้อมูลภาคสนาม ณ พิพิธภัณฑ์ประติมากรรมอาซากุระ ฟูมิโอะ และรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทำให้สรุปการศึกษาได้ 3 ประเด็นดังนี้  1) พิพิธภัณฑ์อาซากุระ ฟูมิโอะ มีรูปแบบเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์แบบผสมผสานทั้งรูปแบบของอาคารแบบตะวันตกและแบบญี่ปุ่น เนื่องจากใช้สถานที่เดิม ที่เป็นทั้งสตูดิโอและบ้านพักของศิลปินเป็นที่จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ ถึงแม้ว่าอาคารจะเคยมีการปรับปรุงแต่ก็ยังคงลักษณะโครงสร้างของอาคารเดิม ทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกสัมผัสได้ถึงวิถีชีวิตของศิลปิน และบรรยากาศความเป็นวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ไม่ถูกปรุงแต่งแบบพิพิธภัณฑ์ที่จัดสร้างในรูปแบบสมัยใหม่  2) การศึกษาผลงานประติมากรรมของอาซากุระ ฟูมิโอะ ผลงานของเขาจัดเป็นรูปแบบผลงานประติมากรรมแบบสมัยใหม่ ซึ่งผลงานของเขาถูกสร้างขึ้นในช่วง 3 ยุคสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะญี่ปุ่น ได้แก่ 2.1) สมัยเมจิหรือเมจิอิ (Meijii) ค.ศ.1864-1912 2.2) สมัยไทโซ (Taisho) ค.ศ.1912-1926 และสมัยโชวะ (Showa) ค.ศ.1926-1989 โดยผลงานของศิลปินได้รับอิทธิพลในการสร้างสรรค์จาก ออกุสต์ โรแดง ประติมากรชาวฝรั่งเศส  3) ศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบที่มีส่วนในการผสมผสานรูปแบบตะวันตกและแบบญี่ปุ่น ของพิพิธภัณฑ์รวมถึงงานประติมากรรมของศิลปิน โดยการวิเคราะห์ สุนทรียภาพแห่งการผสมผสานของอาซากุระ ฟูมิโอะ ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้ในความสามารถของเขาในด้าน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และการจัดสวนญี่ปุ่น เพื่อประโยชน์ในเชิงสหวิทยาการ           The article aims to study the history of the museum and the sculpture of Akira Fumio in Tokyo, Japan. By studying through the form of building a museum Which has both Japanese-style residential buildings Merged with a western style studio. Which represents the concepts and aesthetics of the artist Influences on creating modern art in Japan Which provides benefits to those interested in both the museum building work In relationship Between tastes, artistic forms And the way of life and culture Blend and live together uniquely and with value. According to the study, collected data from the field at the Arakami Fumio Sculpture Museum and collected data from books, articles, and other related information. Therefore can summarize the study into 3 issues as follows  1) The Arakura Fumio Museum has a museum structure that combines both Western and Japanese styles. Because using the same location Which is both the studio and the artist’s residence building a museum Although the building used to be renovated, it still retains the original structure of the building. Allowing visitors to feel the artist’s lifestyle And the atmosphere of a traditional Japanese culture Not being decorated in a museum that was built in a modern way 2) Studying the sculptures of Akira Fumio, his work is considered a modern sculpture. His works were created during the 3 periods of Japanese Art History, namely 2.1) Meiji Period (Meijii) 1864-1912 2.2) Taisho Period 1912- 1926 and Showa Period 1926-1989 The artist’s work is influenced by the creation of Auguste Rodin, a French sculptor.   3) Study and analyze the forms that contribute to the integration of Western and Japanese styles. The museum includes sculptures by artists. By analysis The aesthetic  aesthetic of the combination of Akira Fumio does, which allows us to learn about his ability in architecture, sculpture and the arrangement of Japanese gardens. For interdisciplinary interests

Downloads

Published

2022-12-20