การศึกษาความคิดสร้างสรรค์จากผลงานปลายภาคการศึกษาจากการเรียนการสอนวิชาการออกแบบสื่อ 4 มิติ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์

The study of creativity from the final project work from the instructing of Time-based media design for the second year students in Communication Design Department.

Authors

  • นิจจัง พันธะพจน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์จากผลงานปลายภาคการศึกษาในรายวิชาการออกแบบสื่อ 4 มิติ และเพื่อศึกษาผลการสอนวิชาการออกแบบสื่อ 4 มิติ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประชากรในการวิจัยได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา อน.283 การออกแบบสื่อ 4 มิติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองคือภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์จากผลงานปลายภาคเรียนของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติเชิงพรรณนาเป็นการวิเคราะห์ลักษณะข้อมูลแสดงการวัดผลในรูปของค่ากลางได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัดและประเมินผลโดยผู้สอนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ 2) สัมภาษณ์เจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักเพื่อเป็นกรณีศึกษา แบ่งประเด็นดังนี้ เนื้อหาของการเรียน ลักษณะการเรียนการสอน แบบฝึกปฏิบัติและการวัดผล พฤติกรรม ทัศนคติต่อการเรียน ข้อคิดเห็นอื่น ๆ จากนั้นนำข้อสรุปมาอภิปรายผลร่วมกับข้อมูลทางสถิติที่วิเคราะห์แล้วต่อไป ผลการวิจัย พบว่า ความคิดสร้างสรรค์จากผลงานปลายภาคการศึกษาจากการเรียนการสอนวิชาการออกแบบ สื่อ 4 มิติ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.55) สูงกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ผลการสอนและความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรายวิชาค่อนข้างดี นักศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอน          This research is a mixed method research with the objective to study the creativity from final project work in time-based media design course and to study the results of learning achievement in time-based media design course for the 2nd year students in the communication design department, School of Fine and Applied Arts, Bangkok University. A population in the research consisted of 2nd year students enrolled in Subject CD283: Time based media design. A sample of 30 subjects were obtained by simple random sampling. The duration of the experiment was the second semester of the academic year 2019. The  research instruments were 1) Creative evaluation form from student final project. The statistics used in the research is descriptive statistics, which is an analysis of the data characteristics showing measurement results in the form of the mean values are mean, percentage and standard deviation. Measurement and evaluation by teachers together with expert’s person. 2) In-depth interviews with a sample group providing primary information as a case study divided issues as follows knowledge content of study teaching features assignments and evaluation of behavior, attitude towards learning other comments. After that, the conclusion will be discussed together with the statistical data analyzed. The research results were found that creativity from the final project work in time-based media design course for the 2nd year students in the communication design department was at the high level (average = 3.55) higher than the set hypothesis. The instructing results and learners’ opinions on the course are quite good. Most students have a good attitude towards teaching and learning.

Downloads

Published

2022-12-20