การศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของประดับตกแต่งบ้าน

The study of Nakhon Si Thammarat community identity to home decorations

Authors

  • ภาวิณี ศิริโรจน์
  • ขวัญรัตน์ จินดา

Keywords:

อัตลักษณ์, นครศรีธรรมราช, ผลิตภัณฑ์ของประดับตกแต่งบ้าน, การออกแบบผลิตภัณฑ์, ประดับตกแต่งบ้าน

Abstract

          การวิจัยนี้ อยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าด้วยอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของประดับตกแต่งบ้านที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชและแนวทางความต้องการผลิตภัณฑ์ของประดับตกแต่งบ้าน แล้วนำมาพัฒนารูปแบบของประดับตกแต่งบ้านที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชในลักษณะแบบร่าง 2 มิติ และสร้างสรรค์ต้นแบบผลิตภัณฑ์ 1 รูปแบบที่ผู้บริโภคพึงพอใจสูงสุด และเสนอแนะการนำไปประยุกต์ใช้งานในบริบทสภาพแวดล้อม ส่วนการใช้งานที่เป็นพื้นที่สาธารณะ อาทิเช่น ภายในโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะเด่นของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ดีที่สุด โดยผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่แสดงคุณค่าดั้งเดิมที่พัฒนารูปแบบใหม่ ๆ เพื่อใช้ตกแต่งบ้านเรือน รูปแบบของประดับตกแต่งบ้านทุกรูปแบบที่ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนา เป็นที่ต้องการและผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อการสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของนครศรีธรรมราชที่ปรากฏในตัวผลิตภัณฑ์ การแสดงตัวตน บ่งบอกหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ชัดเจน ความโดดเด่น น่าดึงดูดใจ และคุณค่าของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับสูงทุกรูปแบบ  This paper is a research based on concepts related to creating valuable products using local identities. The objective is to design and develop home decorations that reflect the identity of the community in Nakhon Si Thammarat Province. The researcher was studied the community identity of Nakhon Si Thammarat province and guidelines for the demand for home decorations and then develop style of decoration that reflects the identity of the community in Nakhon Si Thammarat Province in a two-dimension sketch in order to study the needs and creating a prototype of one product model, including suggestions for product design and decoration that reflect the Thai traditional wisdom of Nakhon Si Thammarat province. And suggesting applications for use in various environments. The result from a sample group perceived the reflection of the identity of Nakhon Si Thammarat province, which reflected from the architecture category which is Wat Phra Mahathat Woramahaviharn is the best. At the same time, found that the sample group are interested and need decorative products, which reflects local knowledge by wanting to show the original values in new ways that can be used to decorate houses. Finally, the sample group perception of reflecting the unique localities and local wisdom of Nakhon Si Thammarat that appear in the product, perceived identity Indicate the function of the product clearly, recognize the outstanding product appeal and the recognition of product value at a high level altogether.

References

วิมล ดาศรี. (2557). วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช มรดกธรรม นำสู่มรดกโลก ภาพลักษณ์จากวรรณกรรม. นครศรีธรรมราช : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศิรัมภา จุลนวล. (2556). การศึกษาศิลปะการแสดงโนราเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในที่อยู่อาศัย. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (255). อัตลักษณ์ไทย ทุนความคิด ทุนสร้างสรรค์. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.

สุนิสา อินทรสุข. (2557) การออกแบบเครื่องเรือนจากแนวคิดหนังตะลุง. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร

เสาวรภย์ กุสุมา ณ อยุธยา. (2553) Creative Economy ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย. Executive Journal. 23-28

อิศราพร ใจกระจ่าง และคณะ (2559) แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ระลึกด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 23 มิถุนายน 2559 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

อิศราพร ใจกระจ่าง. (2555). องค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ภาคใต้. เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2562. สืบค้นจาก http://50.57.64.212/sme/manorah/#.U4sTxnY_opE

Downloads

Published

2022-12-20