ความเรียบง่ายในวิถีชีวิตผ่านเทคนิคภาพพิมพ์โมะคุลิโตะ

The simplicity of life through Mokulito printing techniques

Authors

  • รัตติพร ลี้พานุวงศ์

Keywords:

โมะคุลิโตะ, ภาพพิมพ์หินบนแผ่นไม้, เทคนิคภาพพิมพ์, วิถีชีวิต

Abstract

          การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์เรื่อง ความเรียบง่ายในวิถีชีวิตผ่านเทคนิคภาพพิมพ์โมะคุลิโตะมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา และเก็บข้อมุลกระบวนการภาพพิมพ์เทคนิคโมะคุลิโตะ 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ร่วมสมัยแนวคิดเรื่องความเรียบง่ายในวิถีชีวิตเทคนิคโมะคุลิโตะ ให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ให้มีความหลากหลายทางด้านเทคนิคและเป็นแนวทาง สำหรับผู้สนใจเทคนิคภาพพิมพ์มีทางเลือกมากขึ้น ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้รับมุมมองแนวคิดแนวทางศิลปินกับกระบวนการศึกษาทางเอกสารรวมถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและการอธิบายความเป็นมาของเทคนิคและกระบวนการสร้างสรรค์งาน ผู้วิจัยต้องการที่จะถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตสภาพความเป็นอยู่ การทำมาหากินของผู้คนที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน ความทรงจำที่ได้คุ้นเคยและได้พบเห็นเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไทยหรือแผ่นดินจีนที่ผู้วิจัยใช้ชีวิตมาตลอด 7 ปี และถ่ายทอดความเป็นวิถีชีวิตและความรู้สึกที่ได้ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกับภาพที่เห็นจนคุ้นตา สิ่งที่มองข้ามเพราะความเคยชิน แต่ในความเคยชินนั้นก็มีความงามที่แฝงเร้นซ่อนอยู่ โดยการหยิบยกนำ สิ่งเหล่านั้นมาถ่ายทอด ทำให้ภาพที่เป็นแค่มุมมองธรรมดาก็กลายเป็นมุมมองที่พิเศษได้ ถึงแม้ในภาพอาจจะไม่มีสิ่งมีชีวิต แลดูเสมือนว่าเป็นภาพนิ่ง แต่สำหรับตัวผู้วิจัยพยายามจะถ่ายทอดผ่านงานภาพพิมพ์ให้เกิดความรู้สึกว่าภาพที่ไม่มีสิ่งชีวิตนี้ หากเมื่อตั้งใจมองแล้วจะให้ความรู้สึกว่าทุกอย่างกำลังดำเนินชีวิตอยู่ ภาพแต่ละภาพสามารถเล่าเรื่องด้วยตัวเอง เช่นบางภาพอาจให้ความรู้สึกว่ามีคนกำลังพายเรือ หรือแม่ค้าก๋วยเตี๋ยวเรือกำลังสาระวนกับการลวกเส้นกับลูกค้าที่กำลังหิวโหย หรือสำหรับเรือบางลำที่เฝ้ารอลูกเรือพากลับข้ามไปยังอีกฝากฝั่งหนึ่ง โดยเลือกใช้เทคนิคโมะคุลิโตะ หรือ Woodcut on Lithograph เพราะต้องการถ่ายทอดวิถีชีวิตที่พบเห็นเหล่านั้นโดยกำหนดแสงเงาและบรรยากาศที่คล้ายกับความเป็นจริงให้มากที่สุดและสาเหตุอีกประการที่เลือกใช้เทคนิคนี้ เพราะว่าพื้นที่และวัสดุไม่เอื้ออำนวยให้กับเทคนิคอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์และวัสดุบางอย่างหาซื้อยาก การขนส่งลำบาก ผู้วิจัยจึงเลือกที่จะใช้เทคนิคและวัสดุให้เหมาะสมกับพื้นที่อาศัย โดยกระบวนการโมะคุลิโตะ นั้นมีการนำวัสดุไม้มาใช้ ซึ่งพื้นผิวของไม้สามารถตอบสนองในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกของภาพได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้วิจัยทำเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่โดยใช้การเขียนแสงเงาจากดินสอไขลงบนไม้ เรื่องราวในผลงานนั้นล้วนเป็นวิถีชีวิตทั้งสิ้น เช่น รูปเรือที่ทำจากไม้ ดังนั้น วัสดุไม้ที่นำมาทำเป็นแม่พิมพ์ เมื่อถูกเขียนด้วยดินสอไขจะสามารถสะท้อนเนื้อหาที่ต้องการสื่อได้อย่างเต็มที่ คุณลักษณะพื้นผิวได้สร้างความกลมกลืน เนื่องจากความเป็นธรรมชาติของผิวไม้ได้ประสานรูปทรงที่พื้นผิวมีลักษณะเป็นไม้และรูปทรงที่สะท้องถึงภาพวัฒนธรรม วิถีชีวิต รวมกันเป็นเนื้อหาเดียวกันได้อย่างกลมกลืน ผู้วิจัยพบว่าเทคนิคนี้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ทำผลงานภาพพิมพ์ผลงานสร้างสรรค์ และยังได้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของกระบวนการภาพพิมพ์เทคนิคโมะคุลิโตะสามารถนำมาประยุกต์เป็นเทคนิคทางเลือกให้กับศิลปินหรือบุคคลที่รักในศิลปะภาพพิมพ์แต่มีพื้นที่จำกัดและวัสดุอุปกรณ์ไม่เอื้ออำนวย  The Creation of printmaking works of art simplicity in a way of life through the Mokulito printmaking technique aims to 1) To study and collect information on the process of Mokulito technique 2) To create contemporary printmaking artworks concept of The simplicity of life through Mokulito printing techniques creation of printed material to be more technically diverse and provide more guidance for those interested in these print techniques. This research was conducted from a conceptual perspective. The research also is focusing on explaining the history of technique and the creative process. The researcher wanted to convey the story of a simple life, living conditions, and the livelihoods of people that researcher has seen regularly in everyday life. Whether it is from Thailand or China where the researcher had lived for the past 7 years, and convey the way of living and the feeling of living on the bank of the river with familiar images. The researcher also brough out some simple thing that was always overlooked because of the habit but actually has a hidden beauty behind it by making the picture that can become a special perspective. Even though there is no life in the picture but it is actually the researcher intention to convey the feeling through the printmaking. If you pay attention to it, it gives you the feeling that everything is living. Each picture can tell a story by itself. For example, in some photos it might give the impression of someone is paddling; a boat noodle vendor is stirring and blanching the noodles with hungry customers; some ships are waiting for the crew to take them back across the coast. Using the Mokulito technique or Woodcut on Lithograph, the researcher intended to define the shadows and atmospheres in artworks, and tried to  achieve the details that are most close to reality. The other reasons for choosing the Mokulito technique is the materials and types of equipment used in this technique are more favorable in achieving the desired outcomes. Also, the Transportation and availability of materials were difficult. Therefore, the researcher chose this technique and related materials to suit the area where the researchers have lived. The equipment and materials that are difficult to buy in other techniques were readily available for the artist. The Mokulito process is based on wood materials, where the surface of the wood can respond very well to the emotions of the artist. The researcher was very satisfied with the outcome because this technique was very successful in depicting things about the way of life in the artworks. The textures in the artworks create a sense of harmony because of the feeling of naturalness of the wooden textures reflected very well in the final prints. It coordinates to the surface with actual wooden textures and in a way easier to get connected to this series of “The simplicity of life” is harmoniously combined with the same notion, to keep the feeling of realness, natural reality, and the true nature of things around. The researcher found this technique to be best suited for creative printmaking and the outcomes very well show the success of the Mokulito printing process Mokulito printmaking can be practiced as an alternative technique by artists or individuals who love the art of printmaking but do not have enough space and lack the availability of materials to work.

References

พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2544). มนุษยกับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรรณพร อนันตวงศ์. เก็ตถวา บุญประการ, ปัญญา เทพสิงห์. (2561). วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชุมชนคีรีวง. งานวิจัย. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กีรติ บุญเจือ. (2552). ปรัชญาศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชย์.

กัญญา เจริญศุภกุล. (2550). ภาพพิมพ์หิน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สุพจน์ จิตสุทธิญาณ. (2556). ความเข้าใจในทฤษฎีสุนทรียะ. วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 1-179.

เสริมศักดิ์ พงษ์เมษา, สิทธา เจนศิริศักดิ์. (2556). การวัดพฤติกรรมความเคยชินและทัศนคติยึดติดการใช้รถส่วนบุคคล. งานวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วิทวัส ช้างศร. (2553). การเปลี่ยนแปลงวิถีของชาวไทยพุทธ หลังเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2554 กรณีศึกษา หมู่ 4 ตำบลพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. งานวิจัยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

เวธกา เสวครบุรี. (2554). โครงการวิจัยแนวทางการฟื้นฟู และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชาวกะเหรี่ยงบ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี.

Sawaoka Yasuko, Hozumi Setsuko, Yago Yumiko and Tsunoda Motomi. (2018). Lithograph on wood in Rome [Catalog Images]. Committee for the exhibition achievement. Shinkosha Co.Ltd.

Downloads

Published

2022-12-20