การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากภูมิปัญญาทอผ้าฝ้ายร่วมกับเส้นใยก้านโหม่งต้นจาก ชุมชนอ่างเตย ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา

The Product Designing of Bag from Nipa Palm Fiber with the Intellect of Weaving from Angtei Community, Thatakieb, Chachoengsao

Authors

  • จุฬาวรรณ ดีเลิศ
  • ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ

Keywords:

การออกแบบ, ภูมิปัญญาทอผ้า, เส้นใยก้านโหม่งต้นจาก, ผลิตภัณฑ์กระเป๋า

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากเส้นใยก้านโหม่งต้นจาก ร่วมกับการทอผ้าฝ้ายของชุมชน อ่างเตย ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา 2) ทดลองนำเส้นใยจากก้านโหม่งต้นจากเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋า 3) ออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเส้นใยก้านโหม่งต้นจาก จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการ ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ รวมจำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (average) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากภูมิปัญญาทอผ้าฝ้ายร่วมกับเส้นใยก้านโหม่งต้นจากชุมชนอ่างเตย ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาการใช้ประโยชน์และทดลองนำเส้นใยจากก้านโหม่งต้นจาก ผสมกับภูมิปัญญาการทอผ้าจากชุมชนอ่างเตย จากการสำรวจและสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการและผู้จัดจำหน่าย แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ กระบวนการเกี่ยวกับเส้นใย และลายผ้าภูมิปัญญาทอผ้า ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของชุมชนอ่างเตย พบว่า มีความสนใจ กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋า มากที่สุด ร้อยละ 40 พฤติกรรมในการเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋ามากที่สุด กระเป๋าเป้ คิดเป็นร้อยละ 12 กระเป๋ามีสายคล้องข้อมือ คิดเป็นร้อยละ 9 กระเป๋าทรงนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 8 กระเป๋าทรงจีบ คิดเป็นร้อยละ 7 กระเป๋าทรงสี่เหลี่ยม คิดเป็นร้อยละ 7 และความพึงพอใจเกี่ยวกับสีของผลิตภัณฑ์กระเป๋า วรรณะสีร้อน มากที่สุด สีส้มเหลือง ร้อยละ 42 วรรณะสีเย็น มากที่สุด สีเขียว ร้อยละ 38 ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ที่สนในผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านลักษณะเฉพาะถิ่น 2) ด้านประโยชน์ใช้สอย 3) ด้านความงาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.31)  The purposes of this research are 1) to study the using of Nipa Palm Fiber with the Intellect of Weaving from Angtei Community, Thatakieb, Chachoengsao 2) to test the Nipa Palm Fiber to be guidance in product’s development 3) to design the bag of Nipa Palm Fiber. The sample groups are the academicians, traders, and product’ s interested about amount of 106. The research tools are evaluation form. The research statistics are percentage, mean and standard deviation.  The result revealed that the Product Designing of Bag from Nipa Palm Fiber with the Intellect of Weaving from Angtei Community, Thatakieb, Chachoengsao consist of 3 parts as follow; part 1, study the useful and test to take Nipa Palm Fiber apply with the Intellect of weaving from Angtei community. From survey and interview some trader and supplier. The results are 2 types, Fiber processing and printed of fiber, part 2, target behaver analysis to buying Angtei’s product found that they are interested in pattern of bag’s product the most about 40 percentage, the backpack is 12 percentage, the hand bag is 9, the school bag is 8 percentage, the pleated bag is 7 percentage, the tote bag is 7 percentage. The satisfaction to color are as follow; the most is warm color with orange in 42 percentage, the most is color with green in 38 percentage, part 3, the interested person in product satisfaction analysis were 3 parts as follow; 1) endemic nature 2) useful 3) beautiful, the total is high level (average = 4.31)

References

จรรยาวรรณ จรรยาธรรม และประทับใจ สิกขา. (255). การพัฒนาเส้นใยของต้นจากเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร., 94-104.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 4. ธนาคารไทยพาณิชย์, กรุงเทพฯ : 2542., 1527-1535.

ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

รัฐไท พรเจริญ. (2546). เส้นและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : แอ๊ปป้าพริ้นติ้งกรุ๊ป.

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา. จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2542). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สิทธิศักดิ์ ธัญศรีสวัสดิ์กุล. (2539). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์ และคณะฯ. (2559). วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพฯ, 10(2) : 115-122.

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2555). โครงทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม. โครงการตำรา คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Downloads

Published

2022-12-20