การประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมตามแนวคิดของเคิร์กแพทริก กรณีศึกษาการฝึกอบรมโครงการพัฒนาผู้นำยุคดิจิตอล

Authors

  • ณภัค ธนเดชะวัฒน์
  • พรรัตน์ แสดงหาญ
  • อภิญญา อิงอาจ

Keywords:

การประเมินผลสัมฤทธิ์, เคิร์กแพทริก, การฝึกอบรม, พฤติกรรม, ผู้นำ, ยุคดิจิทัล

Abstract

          การศึกษาวิจัยเรื่องการประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมตามแนวคิดของเคิร์กแพทริก กรณีศึกษา: การฝึกอบรมโครงการพัฒนาผู้นำยุคดิจิตอล มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมโครงการพัฒนาผู้นำยุคดิจิตอลในระดับพฤติกรรมการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้หลังการเข้าร่วมโครงการ ใช้ยุทธศาสตร์นำการวิจัยแบบกรณีศึกษา เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบแนวทางการสัมภาษณ์และตัวผู้วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกด้วยแนวทางการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้นำยุคดิจิตอล เพื่อนร่วมงานของผู้เข้าร่วมอบรม และหัวหน้างานของผู้เข้าร่วมอบรม พบว่าผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่มมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าผู้เข้าร่วมอบรมมีพฤติกรรมการทางานที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการอบรม มีการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการทำงานจริง ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมได้มีการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำงานในเรื่อง มีการวางแผนการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน มีการลำดับความสำคัญของงาน ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความรวดเร็วโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยเหลือในการติดต่อสื่อสารและนำเสนองาน มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเป็นผู้นำมีความมั่นใจตัวเอง กล้าแสดงออก กล้าพูดกล้าเสนอความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น และสามารถจัดสรรงานให้เหมาะกับความสามารถของทีมงาน สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมหรือการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ ผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่มมีความคิดเห็นตรงกันว่ามีปัจจัย 4 ประการที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรม ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านนโยบายองค์กร โครงสร้างองค์กร และวัฒนธรรมองค์กร 2) ปัจจัยด้านผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้างาน 3) ปัจจัยด้านวิทยากร และ 4) ตัวผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความเห็นว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการนำความรู้ที่ได้รับไปในการทำงานโดยตรง           The objectives of this study were 1) to evaluate the effectiveness of training “Excellence in Leadership Skills for the Digital Age” project on the behavioral level in respect to how knowledge was applied after the training, and 2) to study factors that affect participants’ application of knowledge after the training. A case study employing in-depth interviews was chosen as the research strategy. The sample of this study consisted of participants of the “Excellence in Leadership Skills for the Digital Age” training project, co-worker of participants,supervisors of participants. All three groups of key informants have the same direction of opinion. Participants changed their behavior after the training and they can apply the gained knowledge in real life. Participants are better at planning their work, are more creative and can prioritize the order of operations. They can adjust and improve their process of operation by applying technology to aid in communication and presentation. In addition, they gained leadership skills. They are more self-confidence, more assertive, more tolerant and they can assign the right job in their person. In terms of factors that affect to activeness of training, there are four factors which affect to participants ability to apply knowledge from training to work. All informants agree that 1) factors of organizational policy, structure and culture, 2) factors of the board of directors and managers, 3) factor of the trainer, and 4) factor of participants all affectto their ability to apply the gained knowledge to their work directly.

Downloads