ปัญหาการชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน

The problem of paying home loans with financial institutions

Authors

  • อังคณา บุญสำราญ
  • มงคล อัศวดิลกฤทธิ์

Keywords:

การชำระสินเชื่อ, สถาบันการเงิน, สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

Abstract

การชำระสินเชื่อของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ปี 2559 – 2561) พบว่ามูลค่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในสถาบันการเงิน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน ซึ่งงานวิจัยมีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากผู้ใช้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงินต่าง ๆ จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่าปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยที่เกิดจากผู้ขอสินเชื่อมีความเห็นอยู่ระดับมาก ส่วนปัจจัยเกิดจากสถาบันการเงินอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีด้านอายุ ด้านอาชีพ ด้านระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัญหาต่าง ๆ แตกต่างกัน สุดท้ายงานวิจัยนี้ได้มีการนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน  Customer loan payments are essential to drive the sustainable development of the real estate business. According to the Bank of Thailand’s data (2016 - 2018), it found that the non-performing loan value of Thai commercial banks has steadily increased, partly due to the non-performing assets from financial institutions. Therefore, this research aims to 1) to study the problems of paying home loans with financial institutions 2) to analyze the problem of paying home loans with financial institutions 3) to suggest solutions to the problems of home loan payment with financial institutions. In this research, questionnaires were collected from 400 home loan users from various financial institutions. The research found that the problems arising from external factors and factors caused by loan applicants were at a high level. The factors caused by financial institutions were at a moderate level. In addition, the hypothesis test results showed that the group of respondents with different age, occupation, and average monthly income had different opinions on the problems. Finally, this research proposed solutions to solve the problem of paying home loans with financial institutions.

References

ชัยยุทธ วัชรานนท์. (2546). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์การพิมพ์.

ดอท พร๊อพเพอร์ตี้. (2557). รู้จักทรัพย์สินรอการขาย หรือ NPA. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563. สืบค้นจาก https://bit.ly/3in5hRO.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน สายนโยบายสถานบันการเงิน, ที่ ฝนส.(01)ว. 50/2559 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

เรื่องหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน วันที่ 29 มิถุนายน 2559. สืบค้น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 สืบค้นจาก https://bit.ly/3Aaammi

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). FI_NP_001 ข้อมูล Gross NPLs และ Net NPLs สินเชื่อแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องและค่าปรับจำแนกตามกลุ่มประเภทสถาบันการเงิน 1/ 2/. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 สืบค้นจาก https://bit.ly/3yqade2

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563ก.). มาตรการสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และให้เงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการ SMEs (SMEs Loan Restructuring). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 สืบค้นจาก https://bit.ly/3Cc2Vgh

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563ข.). ข่าว ธปท. ฉบับที่ 22/2563 เรื่อง แบงก์ชาติเปิด "ทางด่วนแก้หนี้" เชื่อมเจ้าหนี้-ลูกหนี้ให้ปรับหนี้ร่วมกัน สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 สืบค้นจาก https://bit.ly/3fwqir8

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). FI_CB_094 รายงานสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2564 สืบค้นจาก https://bit.ly/3ypJcYb

นราธิป วงศ์สินธุ์วิเศษ. (2554). พฤติกรรมการชำระหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของลูกหนี้สินเชื่อสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับผู้บริหาร, คณะวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร. (2559). 6Cs Credit indicators สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 สืบค้นจาก https://www.ncb.co.th/Press_20061108.htm.

ประชาชาติธุรกิจ. (2563). หนี้เสีย “รถยนต์-กู้บ้าน” ขาขึ้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 สืบค้นจาก https://bit.ly/3ltMR3F.

ปัญจรัตน์ หนูสิงห์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กรณีศึกษา: ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาพัทลุง. การค้นคว้าอิสระสาขาวิชาเอกบริหารธุรกิจ, สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสงขลา, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วนิดา จันทวงศ์. (2550) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สินเชื่อเคหะธนาคารออมสิน เขตเชียงใหม่ 2. การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณี สมตัว. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ สินเชื่อนโยบายรัฐ ของธนาคารออมสิน สาขาจะนะ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศรีวาลัย นิราช. (2551). ปัจจัยของการค้างชำระหนี้เงินกู้ของลูกค้าธนาคารของรัฐ ในจังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภรา ทองไซร้. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้ NPLs กรณีศึกษาธนาคารออมสินเขตสงขลา 2. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตหาดใหญ่.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2563). ภาวะสินเชื่อที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 และแนวโน้มปี 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 สืบค้นจาก https://bit.ly/3ft5Kjr

เอกรัฐ วงศ์วีระกุล. (2553). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารพาณิชย์ของคนทำงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการ, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โฮมบายเออร์ไกด์. (2560). 5Cs สำคัญอย่างไร กับผู้กู้สินเชื่อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2564. สืบค้นจาก https://www.home.co.th/finance/topic-10773.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper Collins. Publishers.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

Published

2022-10-26