การประเมินเส้นทางผลลัพธ์และผลกระทบ ภายใต้ชุดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์

Evaluation of Outcome and Impact Pathways of the Project Series under the Local Community Product Development in Uttaradit Province

Authors

  • เฉวียง วงค์จินดา

Keywords:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น, ชุดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์, ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์, Local Community Product Development, Product Development Project Series, Uttaradit Province Local Community

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินเส้นทางผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 5 โครงการ โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์นักวิจัยและสัมภาษณ์ผู้ใช้ประโยชน์ จำนวน 200 คน เพื่อสร้างเส้นทางผลลัพธ์ ผลกระทบ (Impact pathway) และทำการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นด้วยแบบจำลองโลจิท (Logit model) ทั้งนี้การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคมประเมินภายใต้แนวคิดผลตอบแทนทางสังคม (Social return on investment) โดยใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าโครงการทางการเงิน (Monetization) และเทคนิค Benefit transfer ภายใต้แนวคิด Deadweight Analysis เพื่อกำหนดขอบเขตของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจริง หรือเรียกว่าผลลัพธ์ส่วนเกิน (Deadweight) และการวัดความคุ้มค่าโครงการด้วยดัชนี NPV BCR และ IRR ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนใหม่ 5 โครงการ มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น เท่ากับ 3,612,251.71 บาทต่อปี ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเท่ากับ 2,167,351.03 บาทต่อปี ผลกระทบด้านสังคม 2,384,086.13 บาทต่อปี รวมมูลค่าผลกระทบ 8,163,688.87 บาทต่อปี และมีดัชนีความคุ้มค่าที่คำนวณภายใต้แนวคิด Ex ante assessment ไป 5 ปีจากการยอมรับเทคโนโลยีที่กลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนใหม่จะนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการพัฒนาในโครงการมาเพิ่มมูลค่าเพิ่มที่ระดับการยอมรับร้อยละ 1.60 อัตราคิดลดดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะ 5 ปีร้อยละ 2.5 ค่าดัชนี NPV เท่ากับ 10,347,699.54 บาท, BCR เท่ากับ 1.18 และ IRR เท่ากับ ร้อยละ 75 ซึ่งดัชนีทั้งสามเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์แล้วการลงทุนชุดโครงการวิจัยทั้ง 5 โครงการ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์  The study was intended to evaluate outcomes and impact pathways of 5 projects under the Project Series of Local Community Product Development in Uttaradit. The study was carried out by using secondary data collection method and primary data derived from interviews with researchers and 200 users of the five projects to map the outcome and impact pathways. The evaluation of economic impacts on net income was conducted through the Logit model. The environmental and social impacts were evaluated under the concept of “social return on investment” (SROI), using monetization and benefit transfer with an attempt to use the potential outcome approach under the concept “Deadweight Analysis" to determine the potential outcomes or Deadweight. The cost effectiveness analysis was based on the indexes of NPV, BCR and IRR. The results showed that the impacts of the five projects included economic impact, namely increased net income of 3,612,251.71 Baht per year; environmental impact with 2,167,351.03 Baht worth per year, and social impact with 2,384,086.13 Baht worth per year, being the total amount of 8,163,688.87 Baht per year. In terms of cost effectiveness based on Ex ante assessment with a 5-year projection, the implementation of the technology tools derived from the projects would allow an increase in the acceptance level by 1.6% and a five-year government bond discount rate of 2.5%, giving the NPV of 10,347,699.54 Baht, the BCR of 1.18, and the IRR of 75%. Considering the three indexes, the investment in the five projects was economically efficient.  

References

ชาคร ประพรหม. (2561). การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการพัฒนา ด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ อ.สะเดา จ.สงขลา. วารสารคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(1), 283-318.

ชิชญาสุ์ ช่างเรียน. (2562). การประเมินเส้นทางผลลัพธ์ ผลกระทบของงานวิจัยในระบบวนเกษตรบนทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในเขต จ.อุตรดิตถ์. รายงานวิจัย, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

เดือนรุ่ง ช่วยเรือง และนัทธ์หทัย หลงสะ. (2558). การเปรียบเทียบผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุนในการทำสวนยางพาราระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้ของไทย. วารสารปาริชาต, 28(3), 20-36.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วัฒนวงศ์ รัตนวราห. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวของคนไทยโดยใช้แบบจําลองโลจิทแบบสองทางเลือก. รายงานวิจัย, สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ศศรส ใจจิตร์ นราภรณ์ เภาประเสริฐ และจุฑา พิชิตลำเค็ญ. (2560). การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของงานวิจัยด้านข้าวในประเทศไทย. แก่นเกษตร, 45(4), 613-624.

สมบูรณ์ สุริยวงศ์ สมจิตรา เรืองศรี และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. (2552). Educational Research and Statistics: วิจัยและสถิติทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สมพร อัศวิลานนท์, ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ และสุวรรณา ประณีตวตกุล. (2553). การประเมินผลกระทบจากงานวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

สมพร อิศวิลานนท์ และ ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์. (2561). การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ: แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองแห่งชาติ.

สมพร อิศวิลานนท์. (2561). การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ: แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองแห่งชาติ.

อัศวิน แก้วพิทักษ์. (2558). บทบาท ผลกระทบ และมาตรการแก้ไขเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในเขตชุมชนชาวประมงของจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา : กรณีศึกษา อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Allen, W., Cruz, J., & Warburton, B. (2017). How decision support systems can benefit from a theory of change approach. Environmental Management, 59(1), 956–965.

Alston, J. M., G. W. Norton, & P. G. Pardy. (1998). Science under Scarcity: Principles and Practice for Agricultural Research Evaluation and Priority Setting. Cornell University Press: Ithaca.

Bennis, W. G., Benne, K., & Chin, R. (1969). The planning of change. The American Journal of Nursing, 69(8), 1754.

Dart, J., Petheram, R. J., & Straw, W. (1998). Review of evaluation in agricultural extension. Kingston, ACT, Rural Industries Research and Development Corporation.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw - Hill.

Nunnally, Jum C. & Bernstein, Ira H. (1994). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Riecken, H. (1972). Evaluation action programs: reading in social action research. Boston: Allyn & Bacon.

Scriven, M. (1991). The Methodology of Evaluation. In curriculum evaluation, American educational research association, 1, 60-75.

Downloads

Published

2022-09-26