ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มที่มีต่อการรับรู้ล่วงหน้า (Preconception) กับความพยายาม (Mental effort) ที่ใช้ในขณะเรียนจากสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism)

The Relationship between Preconception and Mental Effort of the Learners, learning with Constructivist Learning Environments During the Academic Years 1990-1998 Naresuan University

Authors

  • สุมาลี ชัยเจริญ
  • สราวุธ จักเป็ง
  • อิศรา ก้านจักร
  • นารี ขันแก้ว

Keywords:

การรับรู้, การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, ทฤษฎีสรรคนิยม

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มที่มีต่อการรับรู้ (Preconception) เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนร็บนเครื่อข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ความพยายาม (Mental effort) ที่ใช้ในขระเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มที่มีต่อการรับรู้ล่วงหน้า (Preconception) กับความพยายาม (Mental effort) ที่ใช้ในขณะเรียน กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนระดับปริญญาตรี สาขาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 212 300 สื่อการสอนในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2547 จำนวน 11 คน ผลการวิจัย สรุปได้ ดังนี้ ผลการวิจัย 1.แนวโน้มการรับรู้ล้วงหน้า (Preconception) ของผู้เรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครื่อข่ายฯผู้เรียนมีแนวโน้มการรับรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครื่อข่ายฯ ทั้ง 4 รายการอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวโน้มเกี่ยวกับความคาดหวังว่าสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายฯจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ 2.การประเมินตนเองเกี่ยวกับความพยายามที่ใช้ในขณะเรียน (mental effort) จากสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เรียนบนเครื่อข่ายฯ พบว่า ผลการประเมินตนเองของผู้เรียนเกี่ยวกับความพยายามที่ใช้ในขณะเรียนทั้ง 3 รายการอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามในการทำความเข้าใจในขณะเรียนจากสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครื่อข่ายฯ 3.ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มการรับรู้ล่วงหน้า (Preconception) กับ ความพยายามที่ใช้ในขณะเรียน (Mental effort) พบว่าแนวโน้มการรับรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความชอบที่จะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครื่อข่ายฯ กับ การประเมินตนเองเกี่ยวกับความพยายามที่ใช้ในการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมทางเรียนรู้บนเครื่อข่ายฯ ปรากฎว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับแนวโน้มการรับรู้เกี่ยวกับความยาก ความคาดหวัง และความกระตือรือร้น ไม่พบความสัมพันธ์กับการประเมินตนเองเกี่ยวกับความพยายามด้านอื่นๆ ได้แก่ ความตั้งใจ และ ความคิด (Cognitive Load) ที่ใช้ในขณะเรียนจากสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครื่อข่ายฯ  This study aimed to examine the learners’ preconception toward constructivist web-base learning environments, the learners' mental effort while they were learning with constructivist web-based learning environments and to explore a relationship between the learners' preconception and mental effort. The target group was 11 students who enrolled 212 300 Instructional media in the 1 semester, Faculty of Education. One-short case study was employed in this study. The data were collected and analyzed using descriptive and the protocol analysis The revealed that: 1) The learners' preconception toward constructivist web-based learning environments It was found that all of learners' preconceptions toward constructivist web-based learning environments were high such as difficulty, prefer­ence, curiosity and expectation to learn with constructivist web-based learning environments. 2) The aelf report of learners' mental effort while  they  were learning with constructivist web-based learning environments It was foud that learners' mental effort while they were learning with constructivist web-based learning environments were high, such as intention, cognitive load and especially effort that the learners invested while they were learning. 3) To explore a relationship between the learners' preconception and mental effort The results revealed that the relationship between the learners, preconception and the effort. The dimension of preference was significantly correlated with mental effort that the learners invested while they were learning with  constructivist web-based learning environments at .05 levels.

Downloads

Published

2022-10-09