รูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสำหรับเยาวชนจังหวัดลพบุรี โดยใช้การปรับพฤติกรรมทางปัญญา

Authors

  • ทรงศรีั ตุ่นทอง
  • บุณยานุช เฉวียงหงส์
  • สิริพร ดาวัน

Keywords:

รูปแบบ, การปรับพฤติกรรมทางปัญญา, เยาวชน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างรูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสำหรับเยาวชนจังหวัดลพบุรีโดยใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางปัญญา 2. ประเมินรูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสำหรับเยาวชนจังหวัดลพบุรี โดยใช้การปรับพฤติกรรมทางปัญญา มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างรูปแบบฯ โดยนำแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและแนวคิดในการพัฒนารูปแบบฯ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาใช้เป็นฐานคิดในการสร้างรูปแบบฯ 2) การทดลองใช้รูปแบบฯ ได้ทดลองกับเยาวชนจังหวัดลพบุรี ปี พ.ศ. 2556 จำนวน 40 คนใช้เวลา 30 ชั่วโมง และ 3) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทีผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสำหรับเยาวชนจังหวัดลพบุรี โดยใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางปัญญา โดยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) จัดกิจกรรมสร้างความตระหนัก 2) การวางแผนพัฒนาสาธารณะ 3) การดำเนินการตามแผน และ 4) การสะท้อนตนเองเพื่อการปรับปรุงตนเอง โดยในขั้นตอนการวางแผนพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเน้นการชี้แนะการให้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานผลการประเมินรูปแบบฯ พบว่า โดยภาพรวมจิตสำนึกสาธารณะของเยาวชนหลังใช้สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวม และด้านการเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมของเยาวชน หลังใช้สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมของเยาวชนหลังใช้กับก่อนใช้รูปแบบ ฯ ไม่แตกต่างกันThe purposes of this research were to: 1) create a model of public mind development foryouths in Lop Buri Province by using cognitive behavior modification; and 2) evaluate and improvethe model of public mind development for youths in Lop Buri Province by using cognitive behaviormodification. The research methodology consisted of 3 steps as follows: 1) constructing a modelof public mind development based on a theory of cognitive behavior modification and guidelinesin model development from individuals involved; 2) trialing the model with 40 youths in Lop BuriProvince for 30 hours; and 3) evaluating the model of public mind. Mean, standard deviation, andt-test applied for data analysing.The findings indicated that the model of public mind development for youths in Lop BuriProvince by using cognitive behavior modification consisted of 4 steps as follows: 1) organizingactivities to raise public awareness; 2) making plans for public mind development; 3) carrying outthe plans; and 4) Self-reflecting in order to make self-improvement. All the steps leading to publicmind development emphasized the importance of boosting work morale.The overall evaluation of the model of public mind development revealed that the youths’public mind after using the model was significantly higher than that before using the model (p<.05).When considered individually, the aspects on preserving public property and on respecting otherpeople’s rights in using public property after using the model were significantly higher than thosebefore using the model (p<.05). However, there was no significant difference on the aspect regardingvandalizing public property between before and after using the model.

Downloads