การศึกษาทักษะชีวิตตามแนวทางของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551กระทรวงศึกษาธิการ ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดบุรีรัมย์

Authors

  • เกศรา น้อยมานพ
  • ทรงศรี สารภูษิต
  • จรีวรรณ ชัยอารีย์เลิศ
  • วชิราภรณ์ ราชบุรี
  • สวาสดิ์ วารินกุฎ

Keywords:

ทักษะชีวิต, นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1

Abstract

           การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียน ประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 จำนวน 1,053 คน ใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับสามารถจำแนกออกเป็น 4 ด้าน จำนวน 58 ข้อ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการได้แก่ ด้านแรก การตระหนักและการเห็นคุณค่าตนเอง ด้านที่ สอง การคิดวิเคราะห์ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านที่สาม การจัดการกับอารมณ์และ ความเครียด และด้านที่สี่การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นโดยที่เครื่องมือการวิจัยที่ใช้มีค่าอำนาจจำแนกราย ข้ออยู่ระหว่าง 0.245-0.854 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (average) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)           ผลการวิจัยพบว่าทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาทักษะชีวิตในแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน โดยที่ทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นมีค่าสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นตามลำดับ             The objective of this survey research was investigate the level life skills of primary school students under Buriram Primary Education Service Area Office 1. Participants selected by stratified random sampling consisted of 1,053 primary school students in schools under Buriram Primary Education Service Area Office 1. The research instrument was a five-rating scale questionnaire consisting of 4 components with 58 questions. The discrimination of this research instrument ranged between 0.245 and 0.554 and the reliability was 0.974. Participants selected by stratified random sampling consisted of 1,053 primary school students in schools under Buriram Primary Education Service Area Office 1. Data were analyzed by using mean (average) and standard deviation (SD) The research result revealed that life skills of primary school students under Buriram Primary Education Service Area Office 1. In overall and each component were at a middle level. In addition, the finding found that the highest level of life skill among primary school students was self-realization and self-esteem followed by emotional and stress management, and analytical thinking, Interpersonal relationship with other.

Downloads

Published

2021-05-12