ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในชั้นเรียนที่ใช้การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน

Authors

  • นริศรา ธรรมนันตา
  • ดวงหทัย กาศวิบูลย์

Keywords:

การเรียนรู้, ปัญหา, การสื่อสารทางคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนคณิตศาสตร์ โดยมีนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 45 คน (1 ห้องเรียน) ในห้องเรียนที่ใช้การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน จำนวน 8 แผน 2) ผลงานของผู้เรียน 3) แบบบันทึกหลังการสอนของครู 4) แบบสะท้อนคิดของนักเรียน 5) แบบวัดความสามารถในการ สื่อสารทางคณิตศาสตร์และ 6) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน           ผลวิจัยพบว่า จากแบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ทั้ง 3 ชุดใช้วัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ในช่วงต้น ช่วงกลาง และช่วงท้ายของการจัดการเรียนการสอนที่ใช้การเรียนรู้ที่ เน้นปัญหาเป็นฐาน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์เป็นดังนี้ ชุดที่ 1 อยู่ในระดับพอใช้ ชุดที่ 2 อยู่ในระดับดี และชุดที่ 3 อยู่ในระดับดี ตามลำดับ โดยความสามารถในการสื่อสารทาง คณิตศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การเขียนอธิบายจากกราฟ 2) การวาดกราฟ และ 3) การเขียนอธิบายโดยใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยรวมแล้วพบว่า ด้านการเขียนอธิบายโดยใช้ภาษาหรือ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดในขณะที่ด้านการเขียนอธิบายจากกราฟนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์พบว่านักเรียนมีคะแนนจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เฉลี่ยเป็น 15.81 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน (คิดเป็น 88.89%) และมีส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 2.28 โดยนักเรียน (มากกว่า 80%) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ 60%         This study aimed to explore mathematical communication ability and mathematics achievement of 45 tenth-grade students in a mathematics problem-based learning (PBL) classroom in the second semester of academic year 2019. The research instruments were included: 1) eight PBL lesson plans 2) students’ artifact 3) the teachers’ notes 4) students’ reflections 5) mathematical communication test and 6) mathematics achievement test. The data were statistically analyzed by using mean, percentage and standard deviation.           The results showed that from the 3 sets of mathematical communication ability tests, that were conducted at the beginning, middle, and at the end of using PBL lesson plans, respectively, the students showed their mathematical communication abilities as follows: Set 1 was a fair level, set 2 was a good level and set 3 was a good level. Focusing on the ability to communicate mathematically in all 3 dimensions, consisting of 1) explaining writing from the graph 2) draw the graph and 3) explaining writing using mathematical language or symbols, the results were as follows: the students showed their highest mean score on explaining writing using mathematical language or symbols. Nevertheless, the students obtained lowest mean score on explanation writing from the graph.         For mathematics achievement, most of the students (more than 80%) had their mathematics achievement mean score higher than the school’s standard, which was at 60%. The mean score was 15.81 points (88.89%) from the full 20 points with a standard deviation of 2.28.

Downloads

Published

2021-05-12