ผลการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความสามารถในท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ของนักกีฬาเทควันโดพุมเซ่

Authors

  • พงษ์พิสุทธิ์ คูหานา
  • วายุ กาญจนศร

Keywords:

โปรแกรมการฝึก, แบบพลัยโอเมตริก, ท่าเตะฟลายอิ้งไซด์, นักกีฬาเทควันโด

Abstract

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลของการฝึกโปรแกรมระหว่างการฝึกแบบพลัยโอเมตริกควบคู่กับท่าเตะฟลายอิ้งไซด์กับการฝึกโปรแกรมการฝึกท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ที่มีต่อความสูงในท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักกีฬาเทควันโด อายุระหว่าง 8-14 ปี ของยิมเดอะคิงคอง เทควันโด อะคาเดมี่ กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ที่ผ่านการฝึกท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จัดแบ่งกลุ่มตัวอย่าง แบบแมชชิ่งกรุ๊ฟ (Matching group) กลุ่มทดลองฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ ส่วนกลุ่มควบคุมฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 120 นาที ทำการทดสอบความสูงในท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า “ที” แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ค่า (t-test Independent) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของความสูงในท่ากระโดดเตะฟลายอิ้งไซด์เพิ่มขึ้นโดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม 2. การทดสอบนักกีฬาในกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกควบคู่กับท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ มีความสามารถในการเตะสูงกว่านักกีฬาในกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purpose of this research was to compare the effect of plyometric training program with flying side-kicks and the flying side-kicks program training on the height of flying side-kicks. The sample group used in the research were thirty Taekwondo athletes, aged between 8-14 years, from The King Kong Taekwondo Academy Gym, Kumphawapi, Udon Thani, who have been trained for flying side-kicks. They were divided into two groups, containing 15 persons per group by specific sampling Sample grouping Matching group grouping method. The experimental group was trained following a plyometric training program with flying side-kicks in training. The control group was trained for flying side-kicks in the standard training program. The experiment group practiced for eight weeks, training three days a week for 120 minutes per day. The height of the flying side-kicks was tested before the experiment started and eight weeks after commencement. The results were analyzed by using the statistical methods means of comparative analysis, standard deviation, and “T” value. Then, the results were analyzed by using statistical methods through (t-test Independent) at the statistical significance level of .05. The results presented that 1. Both the control group and the experimental group had an average increase in the height of the flying side-kick, 2. When tested before the experiment and after the 8-week trial, the experimental group had a higher average side-kick height than the control group, and 3. Testing the athletes in the experimental group could kick flying side-kicks in higher than the athletes in the flying side-kicks in the control group with a statistical significance at the level of .05

Downloads

Published

2021-05-12