การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกวิชาฟิสิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

THE DEVELOPMENT OF AN ACTIVE LEARNING MODEL ON PHYSICS BY USING PROBLEM-BASED TO ENHANCE PROBLEM SOLVING SKILLS AND LEARNING ACHIEVEMENT OF MATTHAYOMSUKSA IV STUDENTS

Authors

  • เกริก ศักดิ์สุภาพ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกวิชาฟิสิกส์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบแผนการวิจัยที่มีกลุ่มควบคุม และทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 35 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ที่มีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกวิชาฟิสิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ จัดเตรียมความพร้อมร่วมพิจารณาปัญหา วิเคราะห์วางแผนแก้ปัญหา นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลอง มีทักษะการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    The purposes of this research were to develop and to implement an active learning model on physics by using problem-based to enhance problem solving skills and learning achievement of mathayomsuksa 4 (grade 10) students. This study was based on pretest-posttest control group design that was used to evaluate the effectiveness of the model. The sample group was 35 grade 10 students of Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary), Bangkok in the first semester in the academic year 2020. The control group was 30 students taught with the traditional instruction. The research instruments comprised 1) learning management plans 2) problem solving skills tests and 3) learning achievement, The data was analyzed by mean, standard deviation, independent t-test and content analysis. The results of the research were as follows:  1. The development of an active learning model on physics by using problem-based comprised consisted 5 steps which included: 1) preparing to learn 2) jointly consider the problem 3) analysis and plan the problem 4) presenting and sharing and 5) evaluate. The evaluation of the experts found that learning model had high level of appropriateness.  2.  The result of using learning management model revealed that the posttest scores of problem solving skills and learning achievement of the students were higher than the pretest scores and higher than the control group at the .05 level of significance.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย.

จุไรรัตน์ สอนสีดา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ ปัญหาตามเทคนิคของโพลยาที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 10(3), 407-423.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมนเนจเม้นท์.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ประมวล ศิริผันแก้ว. (2541). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. นิตยสาร สสวท. 26(103), 8-11.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี ศรีสังข์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชน และประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธีสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2552). จากหลักสูตตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา: กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุวิทย์ มูลคำ; และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อารยา ช่ออังชัญ. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัศวรัฐ นามะกันคำ. (2550). การเปรียบเทียบความเข้าใจเชิงแนวคิดเรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสตรง. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Dick, W. & Carey, L. (1996). The Systematic Design of Instruction. 4th ed. New York: Longman.

Duch, B. (1995). Problems: A Key Factor in PBL. Retrieved August 18, 2019, form: http://www.udel.edu/pbl/cte/spr96-phys.html.

Gallagher. S.A. (1997). Problem-based Learning: Where did it come form, What does it do, Where is it going? Journal for the Education of the Gifted. 20(4), 148-150.

Guilford, S. & Hoepfner, R. (1971). The Analysis of Intelligence. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Hemmerich, H., Lim, W., & Neel, K. (1994). Strategies for Lifelong Learning in Mathematics and Science in the Middle and High School Grades. Portsmouth, NH: Heinemann.

Selley, N. (1999). The Art of Constructivist Teaching in The Primary School: a Guide for and Teachers. London. David Futton Publishers.

Schwartz, P., Mennin, S. & Webb, G. (2001). Problem-based Learning: Case studies, Experience and Practice. London: Kogan Page.

Thaman, I., Richa G. (2013). Promoting active learning in respiratory physiology positive student perception and improved outcomes. National Journal of Physiology, Pharmacy & Pharmacology, 20(3), 332-362.

Torrance, E.P. (1986). Education the Creative Potential. Minneapolis: The Lund Press.

Vygotsky, L. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Cambridge: Harvard University Press.

Downloads

Published

2022-10-09