การพัฒนาชุดการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

THE DEVELOPMENT OF THE ACTIVE LEARNING INSTRUCTIONAL PACKAGE BY USING SQ3R TECHNIQUE FOR ENHANCE THE READING COMPREHENSION SKILLS FOR GRADE 3 STUDENTS OF “PIBOONBUMPEN” DEMONSTRATION SCHOOL, BURAPHA UNIVERSITY

Authors

  • ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอนการอ่านจับใจความแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มจำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 29 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (average) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และหาดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.)  ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.85/82.53 2) ชุดการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ .69 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนการอ่านจับใจความแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R อยู่ในระดับมากที่สุด  The objectives of research are 1) to develop an active learning instructional package by  using SQ3R technique to enhance reading comprehension skills for grade 3 students to meet the efficiency E1/E2 at the criterion 80/80 2) to study the effectiveness index of the active learning by using SQ3R technique to enhancing reading comprehension skills for grade 3 students 3) to study the satisfaction of grade 3 students towards reading comprehension via active learning by using SQ3R technique. The sample group was grade 3 students of “Piboonbumpen” Demonstration School, Burapha University, 1st semester, academic year 2019, obtained from Cluster Random Sampling, consisted of 1 classroom. There were 29 students in the sample group. The statistic used in this research were the mean (average), standard deviation (SD) and finding the effectiveness index (E.I.)  The results showed that 1) The results of efficiency test of Active learning Instructional  Package by using SQ3R technique to enhance reading comprehension skills for grade 3 students  according to E1/E2 = 85.52/82.53 2) The effectiveness index (E.I.) of Active learning Instructional  Package by using SQ3R technique to enhance reading comprehension skills for grade 3 students is .69 3) The satisfaction of grade 3 students towards reading comprehension via active learning by using SQ3R technique was at the highest level.

References

กัมพล เจริญรักษ์. (2560). Active learning สู่ไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการ. 20(4), 18-33.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2555). สอนภาษาไทยอย่างไรให้บูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2560 จาก https://www. gotoknow.org/posts/ 501568

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1( ม.ค.-มิ.ย. 2556)), 5-20.

บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เผชิญ กิจระการ. (2546) เอกสารประกอบการสอนเรื่องดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เยาวลักษณ์ สาระโน. (2551) การใช้ชุดการสอนนิทาน เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

รสสุคนธ์ มากเอียด. (2558). การใช้ชุดการสอนพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วราภรณ์ สัตบุตร. (2554). การสร้างชุดการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาแรก: กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านน้ำตก อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง จังหวัดระนอง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิทยา พัฒนเมธาดา. (2562). Active Learning : Passive Learning. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563 จาก http:// www.kansuksa.com/159/? fbclid=IwAR2eqDyYmZJqscZLIEsyFTEc6zPH25fc_8STPf3dJTeCE18ID xC1dQmAzDY

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2563 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน...เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 6(2), 5.

สมพงษ์ จิตระดับ. (2562). เกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาไทยเมื่อผลสอบ "PISA" เด็กไทยไม่ถึงค่าเฉลี่ย. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/857279

Gagne, R.M. (1985). The condition of learning. New York: Holt, Rinehart & Winston. Ibironke, E. S. (2018). Expert’s Rating and Student’s Perception of Interactive Multimedia Instructional Package Effectiveness on Selected Educational Technology Concepts in Kwara State.

Retrieved from: https://ijitie.aitie.org.ng/index.php/ijitie/article/view/92

Lall, G.R., & Lall, B.m. (1983). Ways children learn. Illinois: Charles C.Thomas.

Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archieves Psychological.3(1), 42-48.

Nash, R. J. (2010). The Active Classroom field book: success stories from the active classroom. California: A SAGE Company.

Nutta, J., Bautista, N.U., & Butler, M. B. (2011). Teaching Science to English Language Learners. New York: Routledge.

Robinson, F.P. (1961). Effective Study. New York: Harper and Brothers.

Sims, R. (2014). Design Alchemy: Transforming the way we think about learning and teaching. New York: Springer.

Srisurak, P., Silanoi, L. & Namprama, P. (2015.) The Effect of Training Package Development for Secondary School Students in Thailand Toward ASEAN Community. Sociology Study, 5(4), 262-268.

Downloads

Published

2022-10-09