ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง

Causal Factors Influencing the Effectiveness of Academic Administration of Secondary Schools in Central Area of Thailand

Authors

  • สุพิชชา มากะเต
  • ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม
  • พรรณวลัย เกวะระ

Keywords:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, ประสิทธิผล, การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง, โรงเรียนมัธยมศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ พัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ และตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,200 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาค่า สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและวิเคราะห์โมเดลด้วยโปรแกรม LISREL และตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน คุณลักษณะงานวิชาการ พฤติกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาและการบริหารนวัตกรรมการเรียนรู้งานวิชาการของโรงเรียน แต่ละปัจจัยมีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วยตัวแปรแฝงภาย นอก 2 ตัวแปร ได้แก่ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และคุณลักษณะงานวิชาการ และตัวแปรแฝงภายใน 3 ตัวแปร ได้แก่ พฤติกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา การบริหารนวัตกรรมการเรียนรู้งานวิชาการของโรงเรียนมัธยม ศึกษาและประสิทธิผลการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไคสแควร์ (𝜒2) เท่ากับ 222.16 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (𝜒2/ df) เท่ากับ 1.105 ค่า GFI เท่ากับ 0.99 ค่า AGFI เท่ากับ 0.98 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 และสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้  The purposes of this research were to investigate the causal factors influencing the effectiveness of academic administration of secondary schools in central area of Thailand; to develop a causal model of factors influencing the effectiveness of academic administration of secondary schools in central area of Thailand and to verify the accuracy of a causal model of factors influencing the effectiveness of academic administration of secondary schools in central area of Thailand. The sample of 1,200 cases were drawn from the school directors, the deputy directors of academic department, and the heads of the departments in the schools under the Secondary Educational Service Area Offices in the academic year of 2020, using stratified sampling method. The research instruments used were Likert scale questionnaires comprising 5 levels of data analysis. Basic statistics and confirmatory factors analysis were analyzed using SPSS. LISREL was used for the causal model analysis and to verify the consistency of the model and the empirical data. The results of this research indicated that; (1) The causal factors influencing the effectiveness of academic administration of secondary schools contained 4 factors those were school environment factor, academic job description factor, secondary school administration behavior factor and innovation management for academic learning factor. The suitability average level of each factor was at the highest point. (2) The causal model of factors influencing the effectiveness of academic administration of secondary schools consisted of 2. external variables those were the school environment and the academic job description and 3. internal variables were the secondary school administration behavior, the Secondary school innovation management for academic learning and the effectiveness of academic administration of secondary schools. (3) The causal model of factors influencing the effectiveness of academic administration of secondary schools was congruence with the empirical data. Goodness of fit measures were found to be; 𝜒2= 222.16, (𝜒2/df) = 1.105, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, CFI = 1.00, RMSEA = 0.00 and it was consistent with the hypothesis set.

References

กรกต พรหมประโคน. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

โกมินทร์ ตั้งสวัสดิ์, ภิญโญ มนูศิลป์ และยุพร ริมชลการ. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(1), 18-26.

ขวัญศิริ บุญสรรค์. (2562). ปัจจัยสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เขษมสร โข่งศรี และชัยรัตน์ บุมี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ทินกร ภาคสนาม. (2559). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 59-68.

ธีรพงษ์ ก้านพิกุล. (2557). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพรัตน์ ศรีสุวรรณ์, สมคิด สร้อยน้ำ และนวัตกร หอมสิน. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อ ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(2), 25-32.

บัญชา ปลื้มอารมย์. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อบรรยากาศโรงเรียนตามการรับรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปฐมพงศ์ ชวาลิต. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศักดา กระแหมะตบ, นพรัตน์ ชัยเรือง และประยงค์ ชูรักษ์. (2561). แนวทางการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(2), 159-171.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

สาริศา จันทร์แรม. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการศึกษาไทย พุทธศักราช 2561.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 2. (2562). รายงานข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานทางการศึกษาในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ปีการศึกษา 2563. ลพบุรี: สำนักงานศึกษาธิการภาค 2.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2U8OYPb

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3yyokOB

สุดาพร ทองสวัสดิ์. (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ครั้งที่ 4 (หน้า 338-348). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อารีย์ ภูมิพันธุ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Ball, G.A., & Trevino, L. K. (1994). Just and unjust punishment: Influences on subordinate performance and citizenship. Academy of Management Journal, 37(2), 299-322.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2008). Educational administration: Theory, research, and practice (8thed.). Boston: McGraw-Hill.

Sergiovanni, T. J. (1998). Educational governance and administration (3rded.). Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

Published

2022-10-18