การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์

The Development of an Educational Management Model with Community Resources and Local Wisdom for Life Skill of Student in Bannongchan School

Authors

  • จินตนา พุ่มไสว

Keywords:

รูปแบบการจัดการศึกษา, แหล่งเรียนรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ทักษะชีวิต, โรงเรียนบ้านหนองจันทร์

Abstract

การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ ประชากรที่ศึกษา คือ ครูผู้สอน จำนวน 10 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 105 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนา ทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ที่พัฒนาขึ้น มีกระบวนการจัดการศึกษา 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นตระหนักสำนึกท้องถิ่นตนเอง (2) ขั้นรวบรวมแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ขั้นวางแผนการจัดการศึกษา ด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น (4) ขั้นทำตามแผนที่กำหนด และ (5) ขั้นประเมินผลและประยุกต์ใช้และ 2) ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ พบว่า 2.1) ผลการประเมินทักษะชีวิตของนักเรียน ก่อนใช้รูปแบบการจัดการศึกษาที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับปานกลาง และหลังใช้อยู่ในระดับมากที่สุดดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของรูปแบบ เท่ากับ 0.7813 สรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนสูงขึ้น ร้อยละ 78.13 2.2) ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ในภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด 2.3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ ในภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด The objectives of this research were 1) to develop an educational management model  based on community resources and local wisdom to improve students' life skills at  Bannongchan school, and 2) to investigate the efficacy of an educational management model  based on community resources and local wisdom in developing students' life skills at  Bannongchan school. The samples of this research were nine teachers and 105 students  studying at Bannongchan school in the academic year 2020. The research findings showed  that: 1) an educational management model based on community resources and local wisdom  was developed to develop students' life skills at Bannongchan school. The educational  management model consisted of five stages: (1) Increasing local wisdom awareness, (2)  Gathering community resources and local wisdom, (3) Planning for searching community  resources and local wisdom, (4) Adhering to the set plan, and (5) Evaluating and applying. 2)  The model's effectiveness was found that: 2.1) Students' life skills after using the model were  higher than before with statistically significant differences at .05. The effectiveness index (E.I.)  was at 0.7813. 2.2) Teacher Satisfaction with the educational management model with  community resources and local wisdom for life skills was at the highest level. 2.3) Student  Satisfaction with the educational management model with community resources and local  wisdom for life skills was at the highest level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทัศนีย์ ทองไชย. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ, ด่านสุทธาการพิมพ์.

ยุพินธ์ บุญเทพ. (2556). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อการขับเคลื่อนการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี2557/2558 “จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา.

Bruner J. I. (1963). The Process of Education. New York: Alfred A. Knopf Random House.

Butterwick, S. and Benjamin, A. (2006). The road to employability through personal development: a critical analysis of the silences and amgiguities of the British Columbia (Canada) Life Skills Curriculum. International Journal of Lifelong Education, 25(1), DOI: 10.1080/02601370500309543

Jaycox. R. (2001). Rural home schooling and place-based education. Charleston, W V: ERIC.

Lawey. (1998). Florida module on generic teacher competencies: Module on module. Florida: The University of Florida.

World Health Organization. (1994). Life skills education for Children and Adoleseences in schools. Geneva.

Downloads

Published

2022-10-18