กลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี

Strategic Administration for Participatory Dual Vocational Education and to Develop Students’ Qualities Through Qualifications Framework for Vocational Education, Thanyaburi Technical College

Authors

  • เพชรโยธิน ราษฎร์เจริญ

Keywords:

อาชีวศึกษา, ระบบทวิภาคี, กลยุทธ์, คุณภาพผู้เรียน, กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา, วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรีดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวม ข้อมูลแบ่งเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างกลยุทธ์ ตอนที่ 2 การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรีตอนที่ 3 การทดลองใช้กลยุทธ์ด้วยคู่มือการใช้กลยุทธ์และกิจกรรมภายใต้โครงการทดลองใช้กลยุทธ์ จำนวน 8 กิจกรรม ตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้กลยุทธ์ โดยใช้แบบสอบถามและแบบรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ที่พัฒนา ขึ้นประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ 4 ข้อ เป้าประสงค์ 4 ข้อ กลยุทธ์ 5 กลยุทธ์ 9 ตัวชี้วัด และ 8 โครงการ/ กิจกรรม โดยผลการประเมินกลยุทธ์ด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสมความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินผลการใช้กลยุทธ์ พบว่าคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความรู้และด้านทักษะ หมวดวิชาชีพมีคุณภาพเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13.49 และหมวดวิชาพื้นฐานประยุกต์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.41 และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  The purposes of this research were to develop the strategic administration for participatory Dual Vocational Education and to develop students’ qualities through Qualifications Framework for Vocational Education, Thanyaburi Technical College. The research was divided into 4 steps. The first step was to study the database for strategic setting. The second step was to create the strategies for participatory Dual Vocational Education to develop students’ qualities through Qualifications Framework for Vocational Education, Thanyaburi Technical College. The third step was to try the strategies. The experiment was done by the manual and 8 activities. The fourth step was to assess the strategies. The research instruments were a questionnaire and reports. The data were analyzed using mean, standard deviation and content analysis. The findings were as follows: the developed strategy consisted of vision, 4 missions, 4 goals, 5 strategies, 9 indicators and 8 projects/ activities. The evaluation of the strategy in agreement, appropriateness, possibility and utility were at the high levels. The evaluation of strategic evaluation was found that students’ qualities through Qualifications Framework for Vocational Education in moral ethic and desirable manner were at the highest levels. Students’ Knowledge and skill for vocation were increasing at 13.49 percent. Students’ Knowledge and skill for applied basically subject were increasing at 7.41 percent. Students’ abilities and responsibly were at the highest levels.

References

จงสถาพร ดาวเรือง. (2560). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาระบบวิภาคีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ในทศวรรษหน้า. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

จารุณี ไกรแก้ว. (2562, พฤษภาคม 10). การจัดทำแผนกลยุทธ์. สืบค้นจาก http://www.oaep.go.th/images /news /20120214113850.pdf

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2557). อาชีวศึกษาทวิภาคีไทย. สืบค้นจาก http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/Articleld/2934/2934.aspx

ไชยา ประพันธ์ศิริ. (2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สืบค้นจาก http://http://www.stcat.ac.th/data

ธนภัทร มั่นคง. (2561). กลยุทธ์การบริหารอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ตามแนวคิดคุณภาพมาตรฐานสากล. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นันทิยา หุตานุวัตร และ ณรงค์ หุตานุวัตร. (2557). คิดกลยุทธ์ด้วย SWOT. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นิรุตต์ บุตรแสนดี. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง. หน้า 9-11.

สมคิด จีนจรรยา. (2563). กลยุทธ์การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีวิทยาลัยเทคนิคเชียงรายสู่ความสำเร็จ. สืบค้นจาก http://www.ctc.ac.th/ctc/images

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อุดมศักดิ์ มีสุข. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 222-223.

Downloads

Published

2022-10-18