การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสุขเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

The Teacher Development Using PAOR Process in Learning Management to Promoting Analytical Thinking Skill of Students in Ban Sukcharoen School Under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1

Authors

  • วันทิวา มูลสาร

Keywords:

การพัฒนาครู, กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การจัดการเรียนรู้, การคิดวิเคราะห์, Analytical Thinking , PAOR Process

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด วิเคราะห์ของครูโรงเรียนบ้านสุขเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 2) พัฒนาครูโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) ประเมินผลการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ มีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู 2) การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ 3) การประเมินผลการพัฒนาครู วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของครูโรงเรียนบ้านสุขเจริญ เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบนการคิดวิเคราะห์ พบว่า ปัญหาการคิดวิเคราะห์เกิดจากครูผู้สอนขาดเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์โดยตรง ขาดสื่อการเรียนการสอนที่จะกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ และครูผู้สอนมีแนวทางในการดำเนินการสอนที่แตกต่างกัน 2) การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์มี 2 วงรอบ คือการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศ และ 3) ผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์มีดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.6870 ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูอยู่ในระดับดีมาก และ นักเรียนร้อยละ 91.76 ได้รับการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์  The purposes of this research were to 1) study the state and problems of learning  management to promote analytical thinking process, 2) develop teachers by using the PAOR  process, and 3) examine the outcome of teacher development at Ban Sukchareon school,  Nakhon Phanom primary education service area office 1, following the use of the PAOR process  to promote the use of analytical thinking in learning management. There were three processes  in the research: 1) teachers' problem in the analytical thinking process of learning, 2) teacher  development through the use of PAOR to promote the use of analytical thinking processes in  learning management, and 3) evaluation of the outcome of teacher development following  the use of PAOR to promote the use of analytical thinking processes in learning management.  The statistics used in this study were mean, standard deviation, effectiveness Index (E.I.), and  percentage. The research findings found that the analytical thinking problem was caused by  the teacher's lack of teaching-learning approaches that focused specifically on the analytical  thinking process. In addition, teachers lacked teaching materials to stimulate students to develop critical thinking processes, and teachers have different approaches to teaching. 2)  There were two cycles of development for teachers using PAOR to encourage the analytical  thinking process. 3) The effectiveness Index (E.I.) of the result of teacher development on the  encouragement of utilizing the analytical thinking process was 0.69. The result of the learning  assessment to promote the analytical thinking process was at a high level, and 91.76% of  students were encouraged to develop analytical thinking skills.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2562. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/websm/2018/5/449.html

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2563. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/จุดเน้นการศึกษา-ปี-63

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2562 (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

คมสันต์ ก้านจักร. (2552). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมศักยภาพที่เน้นการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนโรงเรียนโนนป่างิ้ววิจิตวิทยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จงกลวรรณ พิสิฐพันพร. (2562). เอกสารเชิงวิเคราะห์การพัฒนาครูบุคลากร. กรุงเทพมหานคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาส์น.

ภุชงค์ บุญอภัย, สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ และ สมโภชน์ อเนกสุข. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านมะขาม (สาครมะขามราษฎร์) จังหวัดจันทบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 103-116.

โรงเรียนบ้านสุขเจริญ. (2562). แผนปฏิบัติการโรงเรียนบ้านสุขเจริญ. นครพนม: กลุ่มบริหารงานการเงินและงบประมาณโรงเรียนบ้านสุขเจริญ. (อัดสำเนา).

วิศนี ใจฉกาจ และจุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ โรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47(1), 337-356.

วัฒนะ แถมวัฒนะ. (2553). การพัฒนาระบบการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2562). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สายฝน แสนใจพรม. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยของครูที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(1), 133-148.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านสุขเจริญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (อัดสำเนา).

สำเนา หมื่นแจ่ม. (2563). การพัฒนาครูในการผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(1), 124-135.

สุภางค์ จันทวานิช. (2545). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press.

Downloads

Published

2022-10-18