ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดจันทบุรี

Authors

  • ธวัช วิเชียรประภา
  • พรนภา หอมสินธุ์
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์

Keywords:

พฤติกรรมสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ปัจจัย, Health behavior, Health volunteers, Factors

Abstract

บทคัดย่อ         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดจันทบุรี  โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงหาความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตจังหวัดจันทบุรีจำนวน 384 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและปรับปรุงขึ้น ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยวิธีครอนบาคแอลฟา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)           ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้แก่ การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย อายุ การได้รับการอบรมเพิ่มเติม การเข้าร่วมประชุมและการรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ (r = .271, .203, .122, .189, .125และ .128 ตามลำดับ) โดยพบว่าการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย การได้รับการอบรมเพิ่มเติม และอายุ เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดจันทบุรีได้ร้อยละ 15.2  (R2= .152, p<.001)         ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางแก่พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม โดยเน้นการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนและการรับรู้ความเสี่ยงด้านสุขภาพ รวมทั้งการจัดการอบรมเพิ่มเติม ความรู้และทักษะแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องAbstract           The objectives of this study were to describe health behavior and to examine the factors influencing health behavior of health volunteers.           The study was a correlational research.  The participants of the study were health volunteers in Chanthaburi province. The sample consisted of 384 village health volunteers recruited by multistage random sampling. Data were collected with self-administered questionnaires. The instruments which were developed by the researcher and adapted from the previous studies including demographic characteristics, health behavior perception and 10 National health act of health behavior questionnaires. The reliabilities of questionares were analyzed using Cronbach’s alpha coefficient. Descriptive statistic analysis, Point Biserial Correlation Coefficients, Peason’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis was used for data analysis.           The results of the study revealed that factors  positively related to health behavior of health volunteers were self efficiency in achieving health behavior, perceived susceptibility, age, receiving training, attending the meeting and perceive motivation to perform the duties. Factors that could predict health behavior of health volunteers were self efficiency in achieving health behavior, perceived susceptibility, receiving training, and age at the level of 15.2 % (R2= .152, p<.001). The regression equation was as follows:          The findings  will be used as a guideline for nurse practitioners  and people concerned to develop  health behaviors of village health volunteers, which focus on increasing self efficiency and perceived susceptibility including provision of training to increase knowledge and skills continuously.

Downloads

Published

2021-06-28