โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Authors

  • จุฑามาศ จันทร์ฉาย
  • มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์
  • นิรัตน์ อิมามี

Keywords:

โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวาน, การจัดการตนเอง, การรับรู้ความสามารถตนเอง, Self - Efficacy, Self-Management

Abstract

บทคัดย่อ         โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่ต้องหาแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมาจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และมีอายุระหว่าง 40-65 ปี  จำนวน 40 ราย ซึ่งได้รับโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองที่พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง (Self - Efficacy) แนวคิดการจัดการตนเอง (Self-Management) ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม (Social support) ระยะเวลาทดลองใช้เวลา13 สัปดาห์  ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมครั้งที่ 1 การสร้างเสริมความรู้ การรับรู้และพัฒนาทักษะ กิจกรรมครั้งที่ 2 สร้างการรับรู้ความสามารถและทักษะการจัดการตนเอง การสนับสนุนให้กำลังใจ และการกระตุ้นเตือน กิจกรรมครั้งที่ 3 สร้างการรับรู้ความสามารถและทักษะการจัดการตนเอง การสนับสนุนให้กำลังใจ และการกระตุ้นเตือน กิจกรรมครั้งที่ 4 สร้างการรับรู้ความสามารถและทักษะการจัดการตนเอง การสนับสนุนให้กำลังใจ และการกระตุ้นเตือน กิจกรรมครั้งที่ 5 การกระตุ้นเตือนและให้แรงสนับสนุนทางสังคม โดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลด้านประชากรและประวัติการเจ็บป่วย ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้สถิติ Paired  t-test          ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการจัดการตนเอง  การรับรู้ความสามารถตนเอง  และความคาดหวังในผลลัพธ์ของการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องมากขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน (p<0.001)              ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มทดลองควรให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และเน้นกิจกรรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการจัดการกับปัญหาสุขภาพด้วยตนเองรวมทั้งการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและญาติเพื่อให้กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้นABSTRACT          Diabetes is a non-communicable disease which is one of the important public health problems that needs to be solved and to prevent complications if the patients could not control blood sugar level effectively. This study was a quasi-experimental research aiming to assess the effectiveness of a diabetes education and self-management program of persons with Type 2 diabetes in Prachuap Khiri Khan Province. The samples were composed of 40 persons with Type 2 diabetes. The sampling was made, in accordance with the criteria set, with the diabetic patients aged 40-65 years who could not control blood sugar level. Diabetes education and self-management program was developed by applying self-efficacy theory and the concepts of self-management and social support. The program lasted 13 weeks and the health education methods used for organizing learning activities in the program were included lecture with slide shows, group discussion, demonstration, modeling, practice, behavioral goal setting, self-following-up, self-reinforcement, and assessing performances in accordance with the behavioral goal set. The instruments used for data collection were interview schedule and behavior-record form. Socio-demographic data were analyzed by computing percentage, arithmetic means, and standard deviation and Paired Sample t-test was used to test the research hypotheses.          The results showed that after the experimentation, the significant increased mean scores of knowledge about self-management, self-efficacy, and outcome expectation from dietary intake and exercise were found among the experimental group (p<0.001). The experimental group had significantly better self-management behaviors in regard to dietary intake and exercise than before the experimentation (p<0.001).          The research results revealed that the diabetes education and self-management program organized was effective in making the experimental group had better health behaviors therefore, in organizing learning activities for diabetic patients, the emphasis should be on patient-centered and the activities should be focused on the development of self-efficacy for managing health problems. Besides, supports should be provided by public health personnel and patients’ relatives in order to help diabetic patients change their health behaviors successfully.

Downloads

Published

2021-06-28