ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกต่อระยะเวลาและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Authors

  • สุจิตรา ยวงทอง
  • วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, มารดาหลังคลอดบุตรคนแรก, ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, Breastfeeding promoting program, First-time postpartum mothers, Breastfeeding duration, Breastfeeding behaviors

Abstract

บทคัดย่อ         การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยการสุ่มสองกลุ่มวัดครั้งเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก ในระยะ 4 สัปดาห์หลังคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกที่หน่วยหลังคลอด โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 60 รายที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แล้วจับฉลากเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินระยะเวลาและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที และ Mann-Whitney U test          ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงภายหลัง 4 สัปดาห์หลังคลอด มารดาในกลุ่มทดลองมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนานกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -3.01, p = .002)โดยมารดากลุ่มทดลองมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เท่ากัน 28 วัน ขณะที่มารดากลุ่มควบคุมมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเฉลี่ยเพียง 23.60 (7.61) วัน แต่คะแนนพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งสองกลุ่มโดยรวมไม่แตกต่างกัน (t = -1.65, p = .052) จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและผดุงครรภ์ รวมทั้งบุคลากรด้านสุขภาพนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอดขณะอยู่โรงพยาบาล และติดตามปัญหาอุปสรรค และให้การสนับสนุนทางโทรศัพท์ในระยะ 1 และ 2 สัปดาห์หลังคลอดเพื่อให้มารดามีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานที่สุด ABSTRACT            The purpose of this quasi-experimental, the randomized control-group posttest only research design was to examine the breastfeeding duration and behaviors of breastfeeding promoting program for first-time postpartum mothers during the 4 weeks postpartum. A random sample of 60 first-time postpartum mothers receiving care at postpartum unit of Buddhasothorn hospital, Chachoengsao province was recruited in the study. The sample was randomly assigned into the experimental and control groups. Each group consisted of 30 mothers. The experimental group received the breastfeeding promoting program, while the control group received usual care. The instruments used to collect data were the demographic data questionnaire, and the breastfeeding duration questionnaire and breastfeeding behavior questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics, t-test and Mann-Whitney U test.           The results showed that at 4th week postpartum, the mothers in the experimental group had statistically significant longer duration of exclusive breastfeeding than mothers in the control group (z = -3.01, p = .002).The average days for exclusive breastfeeding of mothers in the experimental group was 28 (.00) days, while in the control group was 23.60 (7.61) days. Both groups were not significantly different in scores of breastfeeding behaviors. (t = -1.65, p = .052) The findings of this study suggest that nurse-midwives and health personnel can apply this program before discharge and two telephones follow-up at 1st and 2nd weeks postpartum to enhance longer exclusive breastfeeding duration for first-time postpartum mothers.

Downloads

Published

2021-06-28