ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี

Authors

  • ยุวดี รอดจากภัย
  • สมพล กิตติเรืองเกียรติ
  • ประสิทธิ์ กมลพรมงคล

Keywords:

โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, Empowering program, People at risk of diabetes

Abstract

บทคัดย่อ          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้พลังอำนาจของตนเอง ความรู้สึกที่มีคุณค่าของตนเองและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานโดยนำแนวคิดของกิบสันมาดำเนินการ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 33 คน โดยกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเวลา 4 สัปดาห์ วัดผลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม การรับรู้พลังอำนาจของตนเองในการป้องกันโรคเบาหวาน แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าของตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเบาหวาน ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent Sample t-test ผลการวิจัยโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจมีผลทำให้กลุ่มทดลองมีการรับรู้พลังอำนาจของตนเองในการป้องกันโรคเบาหวาน ความรู้สึกมีคุณค่าของตนเองและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยโปรแกรมนี้สามารถนำไปใช้ในการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงได้ ABSTRACT           The purpose of the study was aimed to compareperceivedempowerment,self–efficacy,and self-protection behaviors in people at risk of diabetes. The researcher developed an empowering program based on Gibson’s concept. The study subjects included 66 people at risk of diabetes, in which 33 subjects were in the experimental group and the rest was assigned as the control group. The experimental group participated in a four-weeks empowering program.Pre and post tests were administered to the participants. Data collected included perceived empowerment, self-efficacy  and self-protection behavior. Data were analyzed using mean, standard deviation and Independent Sample t-test. The results of the study showed that perceived empowerment, self-efficacy and self-protection behavior of the experimental group were better than the control group (p<0.05).This program can be used to prevent diabetes  in population at risk.

Downloads

Published

2021-06-28