การรับรู้สิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพและบัตรประกันสังคมในกลุ่มแรงงานต่างด้าวและบุคลากร ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร

Perception of Benefits from Health Insurance Card and Social Security Card among Migrant Workers and Hospital Personnel at Samut Sakhon Province

Authors

  • เบญจพร ทองมาก
  • วรวิทย์ มิตรทอง

Keywords:

แรงงานต่างด้าว, สิทธิประโยชน์, ประกันสุขภาพ , การรับรู้

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สิทธิประโยชน์ของสิทธิประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวในกลุ่มแรงงานต่างด้าวและบุคลากรของโรงพยาบาล เปรียบเทียบความแตกต่างด้านสิทธิประโยชน์ ของสิทธิบัตรประกันสุขภาพและสิทธิประกันสังคม การศึกษาเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลคือ แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาและบุคลากรผู้ให้บริการแรงงานต่างด้าว จำนวน 11 ท่าน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์แก่นสาระและตรวจสอบข้อมูลโดยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า  ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นด้านการรับรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ของประกันสุขภาพ กลุ่มแรงงานต่างด้าวมีการรับรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ด้านการประกันสุขภาพของตนเองค่อนข้างน้อย เห็นได้จากการที่แรงงานต่างด้าวไม่ได้ทราบสิทธิประโยชน์ด้านที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่ตนเองพึงได้รับอย่างครอบคลุมเท่าที่ควรแต่จะรับรู้สิทธิประโยชน์ในด้านอื่นๆ ของสิทธิประกันสุขภาพ เช่น สิทธิการได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม สิทธิในการไม่ต้องร่วมจ่ายค่าบริการหรือจ่ายค่าบริการแค่ 30 บาท เมื่อเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาล หรือรับรู้ว่าการมีประกันสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง จะสามารถทำงานและอยู่ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในด้านการรับรู้ของบุคลากร พบว่าบุคลากรมีความเข้าใจในความแตกต่างของสิทธิบัตรประกันสุขภาพและสิทธิประกันสังคมในประเด็นที่พบบ่อยในการให้บริการ เช่น สิทธิการได้รับยานอกบัญชี สิทธิการรักษาพยาบาลในกรณีการบาดเจ็บจากการทำงาน และเมื่อเปรียบเทียบสิทธิประกันสุขภาพทั้ง 2 สิทธิ พบว่าแรงงานต่างด้าว สิทธิบัตรประกันสุขภาพจะได้รับสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานคล้ายกับบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าของคนไทย ส่วนแรงงานต่างด้าวสิทธิประกันสังคมจะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลเหมือนสิทธิประกันสังคมของคนไทย เว้นแต่สิทธิในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่แรงงานต่างด้าวสิทธิประกันสังคมจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ในส่วนนี้  การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา เช่น ควรมีการออกแบบสิทธิประกันสุขภาพหรือควรกำหนดให้มีสิทธิประกันสุภาพเพียงสิทธิเดียวที่เหมาะสมสำหรับแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย การเพิ่มช่องทางการสื่อสารด้านสิทธิประโยชน์ให้กับแรงงานต่างด้าว ทั้งในส่วนโรงพยาบาลผู้ให้บริการและในส่วนของนายจ้าง เพื่อให้แรงงานต่างด้าวมีความเข้าใจในสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น  This study aimed to study the perception of health insurance benefits among migrant workers and hospital personnel by comparing the differences in terms of benefits from the rights among health insurance cardholders and social security cardholders. The study collected data through in-depth interviews. Informants were 11 Myanmar migrant workers and hospital personnel who serve the service to the migrant workers. The sample has been selected by the specific sampling method. Data analysis has been conducted with the Thematic analysis and verifies the information by the Triangulation method.  The study result showed that the perception of health insurance benefits among migrant workers was at a low level. This can be seen from the fact that migrant workers did not know all the health benefits that they should receive. But they recognized the benefits in other areas of health insurance rights such as the right to receive compensation from social security, the right for shall not pay the treatment services or shall pay only 30 baht when entering the hospital or knew that for having any kinds of health insurance, they can work and stay legally in Thailand. About the perception of hospital personnel, It was found that the personnel understood the differences of their rights from health insurance card and  social security card in common areas of service, such as the right to get medicine that not in the insurance program, right to receive medical treatment in case of occupational injury. In the comparison of the two health insurance rights, it was found that migrant workers who hold the health insurance card will receive basic benefits similar to those who hold the Thai universal health insurance cards. For migrant workers, social security rights are entitled to medical treatment which is the same right as the social security for Thai people except the right to promote health and prevent disease that migrant workers who have social security rights will not obtain these benefits.  This study provides recommendations for improvement, such as whether health insurance rights should be designed or should be prescribed for only one health insurance right that is suitable for migrant workers in Thailand both in the hospital, service provider, and the employer. Therefore, the migrant workers shall have a better understanding of their health benefits.

References

International Organization for Migration. World Migrant Report 2015 Migrants and Cities : New Partnerships to Manage Mobility. Geneva Switzerland: International Organization for Migration; 2015.

กระทรวงสาธารณสุข. มาตรการและแนวทางการดำเนินงานตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว. สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. 2548.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว. กลุ่มงานประกันสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. 2557.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงาน ต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559. กลุ่มงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. 2559.

จีรศักดิ์ เตียวตระกูล. การประกันตนของแรงงานต่างด้าว. TEMCA Magazine. 2557;4 (พิเศษ):55-8.

สำนักงานประกันสังคม. แจงให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เจ็บจากงานก็ไม่ต้องกังวล (อินเตอร์เนต).2557 [เข้าถึงเมื่อ 2560 กุมภาพันธ์ 24].เข้าถึงได้จาก http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?cat=762&id=4140

เอกสารประกอบการณ์สัมภาษณ์ รายการมองรอบด้าน หัวข้อเรื่อง “ต่างด้าวในไทยสิทธิ์หรืออภิสิทธิ์กันแน่”ช่อง 13 Family ออกอากาศวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2559 [press release]. 2559.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1 . นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2562

กุลชลี จงเจริญ, นิตยา ภัสสรศิริ. หน่วยที่ 9 การออกแบบและวางแผนการวิจัย. ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยเพื่อบริหารการศึกษา. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556. : 1-62.

กังสดาล เชาว์วัฒนากุล. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพหุระดับของพฤติกรรมการทำงานภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพมหานคร: มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2558.

กาญจนา ผกาทิพย์, สรรพคุณ ปอยสูงเนิน, บุญสืบ โสโสม. คุณภาพชีวิตของเด็กวัยรุ่นตอนต้นโรคธาลัส ซีเมีย: การศึกษาจากมุมมองด้านเพศภาวะ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท). 2554; 2(17):87-93.

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, และมหาวิทยาลัยมหิดล. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : การจัดการข้อมูลการตีความและการหาความหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

Downloads

Published

2022-11-01