ปัจจัยที่มีผลต่อความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดตรัง

Factors Affected to the Retention among Emergency Medical Responders in Trang Province

Authors

  • ศุภชาติ เขมวุฒิพงษ์
  • ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์
  • อารยา ประเสริฐชัย

Keywords:

ความคงอยู่ , ปัจจัยจูงใจ , ปัจจัยค้ำจุน , อาสาสมัครกู้ชีพ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้คือการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพในจังหวัดตรัง และปัจจัยที่มีผลต่อความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพในจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ อาสาสมัครกู้ชีพที่ขึ้นทะเบียนเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ทั้งหมดในหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น จำนวน 309 คน โดยมีวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.814 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาณ คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 73.46 อายุเฉลี่ย 39.64 ปี จบระดับมัธยม ศึกษา/ปวช./อนุปริญญา ปวส./ปวท. ร้อยละ 57.93 ส่วนใหญ่ สมรส ร้อยละ 72.17 และมีบุตรจำนวน 2 คนขึ้นไป ร้อยละ 39.81 อาชีพ เกษตรกรรม/รับจ้างทั่วไป/ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 71.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 13,199.26 บาท เคยเป็นอาสาสมัครด้านอื่น ๆ ร้อยละ 51.78 มีอายุเฉลี่ยเมื่อแรกเข้าเป็นอาสาสมัครกู้ชีพ เท่ากับ 34.20 ปี เป็นอาสากู้ชีพจนถึงปัจจุบันเฉลี่ย 5.44 ปี  ความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดตรัง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย (S.D.) เท่ากับ 24.00 (3.51) โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างตั้งใจที่จะปฏิบัติงานเป็นอาสากู้ชีพในหน่วยงานนี้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (S.D.) เท่ากับ 4.33 (0.68) และค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (S.D.) ของปัจจัยจูงใจในการทำงานคือ ความรับผิดชอบ เท่ากับ 17.75 (1.86) และปัจจัยค้ำจุน คือด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน เท่ากับ 24.94 (3.36) และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดตรัง ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล งานประจำ/งานหลักที่ทำในปัจจุบัน อายุเมื่อแรกเข้าเป็นอาสาสมัครกู้ชีพ ปัจจัยจูงใจโดยรวม และปัจจัยค้ำจุนโดยรวม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรของความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดตรัง ได้ร้อยละ 53 โดยปัจจัยค้ำจุนมีอำนาจในการพยากรณ์ดีที่สุด ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าองค์กรต้องมีนโยบายและการบริหารจัดการที่ดีและการจัดรัฐสวัสดิการเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้อาสาสมัครกู้ชีพคงอยู่ในระบบให้มากที่สุด  This cross-sectional study aimed to determine the retention and identify factors affecting the retention of the emergency medical responders in Trang Province. A systematic random sampling was used to recruit 309. The data were collected using the questionnaire that had a reliability value of 0.814. The data were analyzed using descriptive statistics in terms of numbers, percentages, means, and standard deviation and inferential statistics; multiple linear regression analysis. This study found that the subjects were male (73.46 %), with the average age of 39.64 years old. They finished high school/ vocational certificate/ diploma (57.93%). The majority was married (72.17%), with 2 children and above (39.81%). They worked as farmers, laborers, merchants, and private business owners (71.53%) with the average monthly income of 13,192.26 Bath. Most of them used to be other volunteers (51.78%). The average age when becoming the emergency responders was 34.20 years old. The average year at service until present was 5.44 years.  The overall retention level of the responder was high (mean; S.D.=24.00; 3.51). The volunteers had the highest score on the intention to remain to volunteer as long as possible (mean; S.D.=4.33; 0.68). The highest score on motivation factors was responsibility (means; S.D.=17.75; 1.86). The highest score on hygiene factors was relationship with supervisor and peer (mean; S.D.=24.49; 3.36). The factors related to retention of the emergency medical responders in Trang Province were personal factors, having permanent or current job, first age at becoming responders, the overall motivation factors, and the overall contributing factors (P-value <0.05). These factors cloud predicted the retention of the first responders to 53%, and hygiene factors had the strongest prediction capability. The result of the study  pointed out that the organization should have good policy and management. The fringe benefits from the government could increase morale and increase retention.

References

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล 2559. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 หลักเกณฑ์วิธีการเยียวยา และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ ผู้ป่วยฉุกเฉิน การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการส่ง ต่อผู้ป่วยไปยัง สถานพยาบาลอื่น, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134, ตอนพิเศษ 94 ง (ลงวันที่ 31 มีนาคม 2560).

องค์การอนามัยโลก. รายงานองค์การอนามัยโลกเผย คนไทยตายบนถนนลดลง แต่ยังครองแชมป์ อันดับ 1 ในเอเชีย. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/road-accidents-2018. (วันที่ค้นข้อมูล: 30 กันยายน 2562).

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สร้างมาตรฐานการดูแล ชีวิต.[อินเทอร์เน็ต]. 2555 เข้าถึงได้จาก: https://www.niems.go.th/1/News/Detail/2637?group=5. (วันที่ค้นข้อมูล: 30 กันยายน 2562).

Bell S, Marzano M, Cent J, et al. What counts? Volunteers and their organisations in the recording and monitoring of biodiversity. Biodivers. Conserv2008; 7:3443-54. DOI: 10.1007/s10531-008-9357-9.

Stockard J and Lehman MB. Influences on the satisfaction and retention of 1styear teachers: the importance of effective school management. Educ. Adm. Q.2004; 40: 742-71. Available from:https://doi.org/10.1177/0013161X04268844.

Herzberg F, Mausner B and Snyderman BB. The Motivation to Work. New York: [internet].1959. Available from: https://books.google.com/books/about/The_Motivation_ to_Work.html?id=KYhB-B6kfSMC.

Best JW. Research in Education : 3 rd ed. Englewood Cliffs, 1977. Available from:https://www.worldcat.org/title/research-in-education-3rd-ed/oclc/299893224.

ดลฤดี รัตนปิติกรณ์. ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพเครือโรงพยาบาลพญาไท. (วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์: นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.

นิตยา วันทยานันท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว โรงพยาบาลในเขตจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล). คณะพยาบาลศาสตร์: ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.

พีริยา พิมอรัญ. ปัจจัยทำนายความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). คณะศิลปศาสตร์: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.

สุวรรณา สมถวิล. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ของการเป็นอาสาสมัครทันตกรรมของผู้ปกครอง โรงเรียนอนุบาลสระบุรี. ว ทันตสธ, 2559; 21: 37-46.

ทัศพร ชูศักดิ์ เมธี สุทธศิลป์ และ กฤติเดช มิ่งไม้. ศึกษาความผูกพันในการเป็นอาสาสมัครของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์.วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2561;13: 244-50.

จิตรา วาทิกทินกร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน Generation Y. (สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ ศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.

วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์ และคณะ. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยังคงปฏิบัติงานอยู่ของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ ในโรงงานอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2551; 17(4): 574-82.

Mathis RL and Jackson JH. Human Resource Management. 10 th ed. South-Western: Thompson Publishing; 2004.

Wilson J and Musick MA. Attachment to Volunteering. Sociological Forum. 1999; 14: 243- 72. Available from: https://doi.org/10.1023/A:1021466712273.

Hvenegaard GT and Perkins R. Motivations commitment and turnover of bluebird trail managers. Human Dimensions and Wildlife. 2019; 24(3) :250-66. Available from: https://doi.org/10.1080/ 10871209.2019.1598521.

ชลธิชา บรรจงธรรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจลาออกและคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของรัฐ.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). คณะศิลปศาสตร์; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.

พิมณพัฒน์ แฉล้มเขตต์. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2559.

อนุ เจริญวงศ์ระยับ. การรับรู้สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาและลักษณะส่วนบุคคลที่เอื้อต่อการเป็นอาสาสมัคร อย่างยั่งยืนในนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.

Chacon F, Vecina ML and Davila MC. The three-stage model of volunteers’ duration of service. Social Behavior and Personality. An international journal. 2007; 35(5): 627-42. DOI: https://doi.org/10.2224/sbp.2007.35.5.627.

Penner LA. Dispositional and organizational influences on sustained volunteerism: An interactionist perspective. J. Soc. Issues. 2002; 58(3): 447-67. DOI:10.1111/1540- 4560.00270.

Omoto A M and Snyder M. Sustained helping without obligation: Motivation longevity of service and perceived attitude change among AIDS volunteers. J. Pers. Soc. Psychol. 1995; 68: 671-86. DOI:10.1037/0022-3514.68.4.671.

Gustavo C, Morris AO, George PK and Maria RT. The interplay of traits and motives on volunteering: agreeableness, extraversion and pro-social value motivation. Pers. Individ. Differ.2005; 38(6): 1293-1305. DOI: 10.1016/j.paid.2004. 08.012.

Grube JA and Piliavin JA. Role Identity Organizational Experiences and Volunteer Performance. SAGE journals. 2000; 26(9): 1108-19. DOI:10.1177%2F01461672002611007.

Downloads

Published

2022-11-01