ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

The Relationship between Characteristics of Administrators and Academic Administration in Educational Institutions under Prachuapkhirikhan Primary Educational Service Area office 1

Authors

  • จารุวรรณ เทียนส่งรัศมี
  • วิชิต แสงสว่าง

Keywords:

คุณลักษณะของผู้บริหาร, การบริหารงานวิชาการ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณลักษณะของผู้บริหาร 2) ระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำนวน 313 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับคุณลักษณะของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงตามอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ด้านความเป็นผู้นำ ด้านความรู้ ความสามารถ และด้านบุคลิกภาพ 2) ระดับการบริหารงาน วิชาการในสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงตามอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3) คุณลักษณะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูงที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  The purposes of this research were to study: 1) the level of the characteristics of administrators. 2) the level of the academic administration in educational institutions. 3) The relationship between characteristics of administrators and academic administration in educational institutions under Prachuapkhirikhan Primary Educational Service Area office 1. It was quantitative research. The sample groups were 313 teachers under Prachuapkhirikhan Primary Educational Service Area Office 1. Obtained by random sampling determined using Krejcie and Morgan table and using a multi-stage random. The tools used to collect data were questionnaires, 5 levels of estimation scale. The analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The research results revealed that: 1) The level of the characteristics of administrators, overall and each aspect were high level, The Morality was highest average, followed by the Interpersonal, leadership, knowledge and ability, and personality respectively. 2) The level of the academic administration in educational institutions, overall and each aspect were high level, The measurement was highest average, followed by the evaluation and transfer results, educational supervision, development of innovative media and educational technology, learning process development, and educational curriculum development, respectively. 3) The relationship between characteristics of administrators and academic administration in educational institutions under Prachuapkhirikhan Primary Educational Service Area office 1 had a positive relationship at a highest level, with the statistical significance of .01.

References

กนก ศิริมี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 7(2), 53-60.

กรวีร์ เกษบรรจง. (2557). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), 73-80

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษารักษาการ ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2556). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา : กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติ สำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ณัทลาวัลย์ สารสุข. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดารุณี พิพัฒนผล ภิเษก จันทร์เอี่ยม และอรสา โกศลานันทกุล. (2552). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 3(3) ตุลาคม 2552 - มกราคม 2553.

ธงชัย เจนโกศล. (2557). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ธนวัฒน์ สายนภา. (2559). การศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในอำเภอบ่อไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2555). คุณลักษณะของผู้บริหารที่ดี. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/359783

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษบา คำนนท์. (2559). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารในทัศนะของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

พจนารถ เจียมจิตร. (2554). พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

พิชญาภา ขวัญยืน. (2560). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนตามทัศนะของครูผู้สอนโรงเรียนเอกชน เขตอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภูมิชัย พลศักดิ. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานกับการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 15(29), 67-79.

วันเผด็จ มีชัย. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 79-85.

ศิริลักษณ์ มีจันโท. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรี อยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สราวุธ ถิตย์พงษ์. (2555). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. การค้นคว้าอิสระปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สันติ บัญภิรมย์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บริษัท บุ๊คพอยท์ จำกัด.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

สิริรัตน์ อภิบาลศรี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจงู ใจในการปฏิบัติงายของพนักงานครู โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองตราด จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564. ประจวบคีรีขันธ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหนคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อำนวย มีสมทรัพย์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อุษา แซ่เตียว. (2559). ทักษะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cronbach, L. J. (1990). Essential of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Wigging, G. (2011). The case for authentic assessment. Retrieved November 16, 2020, from http://pareonline.net/getvn.asp?v=2&n=2.html

Additional Files

Published

2022-10-20