การพัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี

The Model Development for Competencies Development in Managing Proactive Learning for Teachers at Wat Yai Intharam under Chonburi municipality

Authors

  • นฤมล คล้ายริน

Keywords:

การพัฒนารูปแบบ, สมรรถนะครู, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี 2. พัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี 3. ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี 4. ศึกษาผลการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี 4.1) เปรียบเทียบสมรรถนะ ครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้รับการพัฒนาก่อนและหลังการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 4.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาสรรถนะครูด้านการเรียนรู้เชิงรุกกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การ ศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนา สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี และผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ได้ดังนี้ เคร่ืองมือประกอบด้วย แบบประเมิน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี ความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกสำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัด การเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2. การพัฒนารูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี องค์ประกอบ รูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการของรูปแบบ (Principle of Model) 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (Objective of Model) 3. ขั้นตอนการชี้แนะ (Process of Coaching) ประกอบด้วย 3.1) ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนการชี้แนะ (Pre-Coaching) 3.2) ขั้นการชี้แนะ (Coaching) 3.3) ขั้นการทบทวน (Review) 3.4) ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) 4. ปัจจัยสนับสนุน (Support System) และผลการตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบและเครื่องมือ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อรวมทุกรายการโดยรวมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ พบว่า มีความสอดคล้องทุกประเด็นโดยมีค่าความสอดคล้อง IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สามารถนำไปใช้ได้ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบก่อนนำไปใช้จริงดังนี้ 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูกลุ่มทดลองทั้ง 6 คน พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรีทุกคน ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สูงกว่าคะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   4. ศึกษาผลการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียน เทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี พบว่า ผลจากการส่งเสริมทักษะ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้รับการชี้แนะสรุปผลได้ดังนี้ ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกครูผู้รับการชี้แนะมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรีทุกคน และผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทุกคน โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า มีค่าเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทุกคน The objectives of a research of the concept improvement for the purpose of proactive development in professional learning management competency perspective for teachers in Inthapanya School Wat Yai Intharam under Chon buri municipality. 1. were to analyze the current environments and consider desirable conditions which contribute to proactive development in professional learning management competency perspective for teachers in Inthapanya School Wat Yai Intharam under Chon buri municipality. 2. were to improve the concept of proactive development in professional learning management competency perspective for teachers in Inthapanya School Wat Yai Intharam under Chon buri municipality. 3. were to study the result deriving from applying the concept of proactive development for professional learning management competency for teachers in Inthapanya School Wat Yai Intharam under Chon buri municipality by means of ; 4.1) compare the proficiency of teachers in proactive learning management aspect before and after utilizing the concept of proactive development for professional learning management competency and 4.2) compare the learning achievement of students before and after applying the concept of proactive development for professional learning management competency. The sample was 19 teachers teaching in grade 4-6 in Inthapanya School Wat Yai Intharam under Chon buri municipality. This research was studied in mixed method along with the concept of proactive development for professional learning management competency created by researcher which can be divided to be 3 steps; Step 1 to analyze the current conditions, and to study the needs of teachers involved. Step 2 to enhance the concept of proactive development for professional learning management competency for teachers in Inthapanya School Wat Yai Intharam under Chon buri municipality. Step 3 to study the result deriving from using the concept of proactive development for professional learning management competency.  Professional skills evaluations and questionnaires were used as the research instruments. The data were collected and analyzed by percentage, mean, standard deviation and priority needs index (PNI)  The result of this research found that 1. The current environment for proactive development in professional learning management competency for teachers in Inthapanya School Wat Yai Intharam under Chon buri municipality was found in moderate level for overall, and in every aspact while the desirable conditions were found in the most desirable level for overall, and in every aspect. 2. The improvement of the concept of proactive development in professional learning management competency for teachers in Inthapanya School Wat Yai Intharam under Chon buri municipality can be summarized as follows: There are 4 elements resulting from proactive development in professional learning management competency aspect for teachers in Inthapanya School Wat Yai Intharam under Chon buri municipality including 1. Principle of Model 2. Objective of Model 3. Process of Coaching which consist of 3 steps; 3.1) Pre-Coaching 3.2) Coaching 3.3) Review 3.4) Reflection and 4. Supporting systems. And The result from quality check in learning management structures by senior experts was in the most appropriate level with average 4.00-4.60, and the quality of tools used in the process of proactive development in professional learning management competency for teachers in Inthapanya School Wat Yai Intharam under Chon buri municipality was found consistent in all aspects with Index of Item-Objective Congruence more than 0.5 which can be used in this research. 3. The result from applying the concept of proactive development for professional learning competency at pre-stage found that 1) After applying the concept of proactive development for professional learning competency for 6 teachers, the competency level is significantly higher than before, and 2) After applying the concept of proactive development for professional learning competency, the learning achievement of students are also in statistically higher level at 0.01. 4. The result from applying the concept of proactive development for professional learning competency were as follows:  After applying the concept of proactive development for professional learning competency, 19 teachers involved have more skills in proactive professional learning competency than the other teachers. And After applying the concept of proactive development for professional learning competency, the leaning achievement of all students in the class of teacher involved in this research statistically increase from the past at 0.01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ญาณภัทร สีหะมงคล. (2552). การวิจัยและพัฒนา. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.ntc.ac.th/news/ntc_50/research/20/res. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม 2561].

พชรวิทย์ จันทรศิริสิร. (2554). การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). ครูในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารวิชาการวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2552). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม. (2560). เอกสารการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน พ.ศ. 2560. ชลบุรี : ฝ่ายวัดและประเมินผลโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม เทศบาลเมืองชลบุรี.

วรพงศ์ ไชยฤกษ์. (2558). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ : มุมมองใหม่ในการวิจัยทางภาษาไทย Critical Discourse Analysis: A New Perspective on Thai Language Research. เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

วรวรรณ เพชรอุไร. (2555). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบแอคทีฟในรายวิชา อย 341 การแปรรูปยาง. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. กรุงเทพฯ.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544). การพัฒนาการเรียนการสอนทางการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองชลบุรี. (2560) รายงานประเมินตนเองปีการศึกษา 2560. ชลบุรี : หน่วยศึกษานิเทศก์, เทศบาลเมืองชลบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2557). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://ocs.go.th/veform/PDF/conpetency.pdf. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 8 สิงหาคม 2561].

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานการวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2546). ระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

Bransford, J. D., Brown, A. L., & Cocking, R. R. (2000). How People Learn: Brain, Mind, Experience, and School. Washington DC: National Academy Press.

Cresvell. (2003). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Kyriacou. (2007). Essential Teaching Skills Third Edition Paperback. Nelson Thornes Ltd; 3Rev Ed edition.

Sweller, J. (2006). The worked example effect and human cognition. Learning and Instruction, 16(2), pp. 165-169.

Trigwell and others. (1999). Effective instructional leadership through the teachers’ eyes. High School. Magazine, 7(1), 16-20.

Additional Files

Published

2022-10-20