พลวัตงานช่างศิลป์ไทย: กระบวนการปรับตัวเพื่อการดำรงอยู่ของช่างปิดทองคำเปลว

The Dynamics of Thai Arts: The Adaptation Process for Survival of Craftsman Working with Gold Leaf

Authors

  • นุสรา จิตตเกษม
  • นันท์ชญา มหาขันธ์

Keywords:

ช่างศิลปะ, ไทย, การช่างฝีมือ

Abstract

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการงานช่างศิลป์ไทยที่ใช้ทองคำเปลว สมัยรัตนโกสินทร์ โดยศึกษาสถานภาพและบทบาท รวมทั้งกระบวนการปรับตัวของช่างปิดทองคำเปลวในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในลักษณะกรณีศึกษา โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์  ผลการศึกษาพบว่า งานช่างศิลป์ไทยนั้นมีพื้นฐานแนวคิดมาจากศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธทำให้มีการใช้อัญมณีมีค่านานาชนิดในการประดับตกแต่งอาคารสถานที่ของพระมหากษัตริย์ ชนชั้นสูง และศาสนสถาน เพื่อแสดงถึงอำนาจ บารมี ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง และเป็นเครื่องยืนยันยศศักดิ์ บุญกุศล หนึ่งในสิ่งมีค่าเหล่านั้นคือ ทองคำ แต่ในบางช่วงเวลาภายใต้บริทบทางสังคมในแต่ละขณะ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกได้ส่งผลกระทบต่องานช่างปิดทองคำเปลว ซึ่งสามารถแบ่งช่วงพัฒนาการได้เป็น ๓ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ (สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓) ช่วงที่ ๒ (สมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๖) และช่วงที่ ๓ (สมัยรัชกาลที่ ๗ ถึงปัจจุบัน) จากบริทบทางสังคมที่เกิดขึ้นสามารถสรุปปัจจัยหลักสำคัญที่ส่งผลต่องานศิลป์ไทยที่ใช้ทองคำเปลวได้ ๔ ประการ คือ ๑. ด้านแนวคิด คติ ความเชื่อ ๒. ด้านการเมืองการปกครอง ๓. ด้านเศรษฐกิจ ๔. ด้านนวัตกรรม  เมื่อปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเข้ามากระทบจะส่งผลต่องานช่างปิดทองคำเปลว ซึ่งอาจเป็นด้านการสนับสนุนหรือการลดทอนการใช้ทองคำเปลว และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงตัวช่างปิดทองคำเปลวโดยตรง เนื่องจากช่างเป็นผู้ผลิตงานให้กับสังคม สังคมจึงเป็นตัวกำหนดกรอบการทำงานให้กับช่างด้วย ทำให้ช่างหลวง และช่างอิสระที่ทำการศึกษายังคงมีสถานภาพความเป็นช่างที่ผลิตงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม จึงเป็นการทำงานเพื่องาน เพื่อสร้างฐานะให้กับตนเอง ไม่ได้ทำงานเพื่อสนองตอบอารมณ์ความรู้สึก และไม่ต้องการแสดงตัวตนอย่างที่ศิลปินในปัจจุบันต้องการ สำรับเทคนิคและกรรมวิธีการปิดทองคำเปลว ช่างทั้งสองกลุ่มยังคงมีการทำพื้นและปิดทองด้วยยางรัก และได้มีการพัฒนาใช้วัสดุสมัยใหม่แทนยางรัก คือ สีน้ำมัน และอีพ็อคซี่ ส่วนวัสดุทดแทนทองคำ คือสีทองคำวิทยาศาสตร์ได้ ถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้น ช่างทั้งสองกลุ่มมีการประสานงานเชื่อมโยงกันโดยอาศัยความรู้จักคุ้นเคยกันเป็นสำคัญ ภาระหน้าที่ของช่างด้านการถ่ายทอดสืบสานภูมิปัญญาการปิดทอง ช่างทั้งสองกลุ่มมีการถ่ายทอดจากรุ่นพี่ หรือหัวหน้างาน ไม่มีเอกสารตำราเรียน ฝึกทำกับงานจริง ในสถานที่จริงๆ ส่วนใครจะมีความชำนาญมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ฝึกฝนของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ นอกจากนี้ทางกลุ่มช่างหลวงยังได้มีการเผยแพร่ความรู้การปิดทองคำเปลวไปยังบุคคลภายนอก แต่ก็สอนเฉพาะการปิดทองด้วยสีน้ำมัน ดังนั้นจึงสามารถคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตได้ว่างานช่างปิดทองคำเปลวจะยังคงมีอยู่ต่อไป ภายใต้เงื่อนไขที่ยังมีทรัพยากรทองคำ และคนยังให้คุณค่าทองคำ อีกทั้งยังคงมีสถาบันพระมหากษัตริย์ พุทธศาสนา และมีงานการอนุรักษ์สมบัติของชาติอยู่ แต่มีทิศทางว่าจะถูกปรับไปใช้วัสดุสมัยใหม่คือ สีน้ำมันทดแทนยางรัก และสีทองคำวิทยาศาสตร์ทดแทนทองคำเปลวแท้มากขึ้น This thesis is aimed to study the development of Thai art craftsmanship using gold leaf in Rattahakosin period in terms of status and role including adaptation of craftsmen at the present. This qualitative study is a case study using data from document and interview.  The findings show that the fundamental concept of Thai craftsmanship is derived from Brahmanism and Buddhism which results in majestic grandeur of royal and religious places. For showing the power and prosperity of the nation, decoration of these places must be splendid; therefore, precious stones and metals are used for the decoration and, among those precious materials, gold is the most famous. For convenient use, it is transformed into gold leaf. Social context plays important role on the development and popularity of this Thai arts, and its development can be divided into three periods. The first period is considered from the reign of King Rama I to King Rama III; the second period is from the reign of King Rama IV to King Rama VI, and the third period is from the reign of King Rama VII until the present. There are four factors affecting the popularity and the style of this type of Thai arts including the craftsmen themselves. Those factors are 1) value and belief of society, 2) political situation, 3) economy, and 4) innovation. Unlike other kinds of artists, craftsmen for this Thai art, both royal and freelance, produce their works from the need of society not for expressing their own emotion and identity. The two groups of craftsmen have still conserved the traditional technique using of lacquer in the processes of background preparation and gold leaf attachment onto the background. Modern gluing agents like oil color and epoxy and scientific gold color are used as substitution for lacquer and real gold leaf. The coordination and communication between two groups of craftsman are in good condition due to their familiarity. The knowledge of this art is transferred from generation to generation without official writer document. An individual craftsman has to get into the field practicing in the real scene. The expertise is mostly depended on attention and personal practice. Those royal craftsmen although offer knowledge of this art to public, they teach only the process of using oil color not lacquering. The prediction is that this type of Thai arts will continue as long as gold is valued and exists. In addition, as long as monarchy and Buddhism are two important sectors together with conservation of  national heritage in terms of Thai arts, Thai arts using gold leaf will continuously exist. However, the tendency of using of oil color for lacquer and scientific gold color instead of gold leaf will increase.

References

กรมศิลปากร. (๒๕๒๑). กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ: อุดมศึกษา (แผนกการพิมพ์).

กรมศิลปากร. (๒๕๓๗). ช่างศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. กองนโยบายและแผนวัฒนธรรม ฝ่ายพัฒนานโยบายและแผน. (๒๕๓๗). แผนแม่บทโครงการสืบสานวัฒนธรรมไทย พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๐. กรุงเทพฯ: นีลนาราการพิมพ์.

คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์. (๒๕๒๑). ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย. (๒๕๔๐) ช่างสิบหมู่. ม.ป.ท.

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๒๖). สามัคคีเสวกและทศพิธราชธรรม. กรุงเทพฯ: เกษมการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สถาบันไทยคดีศึกษา. (๒๕๒๕). ศิลปกรรมหลัง พ.ศ. ๒๕๗๕. กรุงเทพฯ: ศรีบุญพับลิเคชั่น.

ศรัณย์ ทองปาน. (๒๕๓๔). ชีวิตทางสังคมของช่างในสังคมไทยภาคกลางสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อน พ.ศ.๒๔๔๘. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต, สาขามนุษยวิทยา, คณะสังคมและมนุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

Published

2021-07-22