ปัจจัยการบริหารจัดการคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Managerial Factors of Management Sciences Faculty, Rajabhat Universities

Authors

  • มณี ชินณรงค์
  • กระมล ทองธรรมชาติ

Keywords:

มหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะวิทยาการจัดการ, การบริหาร, สถาบันอุดมศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ (๓) เพื่อวิเคราะห์การพยากรณ์การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ (๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ วิธีการศึกษาประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างจากอาจารย์คณะวิทยาการจัดการ ๔๐ แห่ง ทั่วประเทศ จำนวน ๓๓๘ ตัวอย่าง และทวนสอบข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกคณบดี และทีมผู้บริหารคณะวิทยาการจัดการจำนวน ๑๑ ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson’s Product Moment Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)  ผลการวิจัยพบว่า (๑) ในภาพรวม คณะวิทยาการจัดการมีปัจจัยการบริหารจัดการอยู่ในระดับดี และพบว่า ในทุกด้านที่ศึกษา คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่ชุมชน และด้านการประกันคุณภาพ มีการบริหารจัดการในระดับดีเช่นเดียวกัน (๒) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการเรียงระดับความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้ ภาวะผู้นำ (r =.๗๓๗) คุณภาพบุคลากร (r =.๖๘๘) คุณภาพเทคโนโลยี (r =.๖๔๒) ความสามารถของบุคคล (r=.๕๐๘) ปริมาณเทคโนโลยี (r =.๖๔๒) ค่านิยม (r =.๔๖๘) วิสัยทศน์ร่วม (r =.๕๑๖) การเรียนรู้เป็นทีม (r =.๔๘๑) งบประมาณ (r =.๖๗๖) ความคิดอย่างเป็นระบบ (r =.๔๙๙) กรอบความคิด (r =.๕๑๖) (๓) ตัวแปรอิสระทั้ง ๖ ซึ่งประกอบด้วย ภาวะผู้นำ คุณภาพบุคลากร คุณภาพเทคโนโลยี ความสามารถของบุคคล ปริมาณเทคโนโลยี และค่านิยม สามารถพยากรณ์การบริหารจัดการได้ร้อยละ ๖๙.๗๐ (R2 =๐.๖๙๗ F = ๑๒๖.๗๐๗ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ .๐๑) (๔) รูปแบบที่นำเสนอประกอบด้วยตัวแปรอิสระที่สามารถพยากรณ์คณะวิทยาการจัดการได้ทั้ง ๖ ตัวแปร          This research aimed to investigate managerial administration level of the Faculty of Management Science (FMC), Kanchanaburi Rajabhat University (KRU), to study factors which were correlated with the managerial administration level of KRU, to analyze predicting managerial administration level of KRU, and to propose managerial administration model which was correlated with managerial administration of the FMC, KRU. The method of study comprised quantitative analysis by sampling techniques, obtaining 338 samples from teachers in the FMC of 40 Rajabhat Universities. The quantitative data technique was verified by in-depth interviews of 11 deans and management trams of the FMCs. A constructed questionnaire was used as a tool to collect quantitative data. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The research results revealed that: (1)The managerial administration factors FMC were overall and in individual aspects at a high level, that is, teaching and learning, research, giving academic services to communities, and quality assurance. (2)The factors correlated with the managerial administration, ranking in the order frequency were, leadership (r= .737), personal quality (r= .688), technology quality (r= 642), personal mastery (r = .508), technology quantity (r=.642), values (r= .468) Share vision, (r = .516), team learning (r= .481) budget (r = .481), system thinking (r = .499), mental modls (r = .516). (3)All 6 independent variables, which consisted of leadership, personal quality, technologyquality, personal mastery, technology quantity, and values, were able to predict the managerial administration at 69.70 (R2 = 0.697, F = 126.707) with a statistical significance of 0.01 level (4)The proposed model which consisted of all 6 independent were able to predict the managerial administration of FMC.

References

ประพจน์ แย้มทิน. (๒๕๕๐). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของการจัดการศึกษา การรับรู้ของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันราชภัฏ. (๒๕๔๑). รายงานการจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฏ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาสถาบัน.

สภาสภาบันราชภัฏ. (๒๕๔๗). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาสถาบัน.

สภาสภาบันราชภัฏ. (๒๕๔๘). วิสัยทัศน์: ราชภัฏกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาสถาบัน.

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. (๒๕๔๙). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอก. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัย ราชภัฏกาญจนบุรี.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (๒๕๔๙). สังคมวิทยาองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Fiedler, F.E. (1967). A Theory of Leadership Effectiveness. New York: Mc Graw – Hill.

Gulick, L. U. (1956). Paper on the Science of Administration. New York : Institute of Public Adminstration Columbia University.

Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline : The Art and Practice of The Learning Organization. New York: Doubleday

Downloads

Published

2021-07-22