กลยุทธ์การสร้างตราสินค้าบุคคลคริสโตเฟอร์ ไรท์

The Personal Branding Strategies of Christopher Wright

Authors

  • ศิริพรรณ หอมไกล
  • ชมพูนุช ปัญญไพโรจน์

Keywords:

ไรท์, คริสโตเฟอร์, ชื่อตราผลิตภัณฑ์, การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์

Abstract

        วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์และกระบวนการสร้างตราสินค้าบุคคล คริสโตเฟอร์ ไรท์ ตลอดจนองค์ประกอบที่ส่งผลทำให้ตราสินค้าประสบความสำเร็จ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับคริสโตเฟอร์ ไรท์ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างตราสินค้าบุคคลคริสโตเฟอร์ ไรท์ และผู้บริโภค รวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๙ คน ผลการวิจัยพบว่าทั้งในช่วงก่อนและหลังที่มีชื่อเสียง คริสโตเฟอร์ ไรท์ ได้ใช้ ๓ กลยุทธ์ ได้แก่ (๑) การสร้างความแตกต่าง (๒) การเพิ่มคุณค่าให้กับตราสินค้า และ ๓) การใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ในส่วนของกระบวนการสร้างตราสินค้านั้นได้แบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอนการวิเคราะห์ และการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการดำเนินงาน ขั้นตอนการติดตามและการประเมินผล และขั้นตอนการบริหารจัดการตราสินค้า ส่วนองค์ประกอบที่ส่งผลทำให้ ตราสินค้าบุคคล คริสโตเฟอร์ ไรท์ ประสบความสำเร็จนั้นสอดคล้องตามแนวคิดของ Roberto Alvarez del Blanco (2010) The purpose of this research was to investigate the personal branding strategies and branding process of Christopher Wright and the components influencing the personal brand successful. Nineteen people consisted of Christopher Wright, Christopher right’s branding process related persons and consumers were interviewed. The results revealed that Christopher Wright employed three strategies: differentiation, Added Value and Integrated Marketing Communication. The processes of the personal brand began from situation analysis and target consumer identification, planning, processing, tracking and assess and brand equity management. The components influencing personal branding strategies are congruent with Roberto Alvarez del (Blanco’s concept proposed in 2010.

References

กชนันท์ ธาดาวชิรา. (๒๕๔๘). การสร้างแบรนด์และการบริหารจัดการแบรด์ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน). การศึกษาค้นคว้าอิสระ, วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารภาครัฐและเอกชน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กุลวีณ์ วิริโยทัย. (๒๕๕๒). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๕๕๑. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ขวัญข้าว โง้วจิระศักดิ์. (๒๕๕๒). การสร้างตราสินค้าทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จตุรงค์ ล้อมพิทักษ์. (๒๕๕๒). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ กระบวนการและแนวโน้มการสื่อสารการตลาดในอนาคตของสถานีโทรทัศน์ U CHANNEL. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐกรณ์ สถิรกุล. (๒๕๓๗). กระบวนการสร้างนักร้องยอดนิยม ของบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์จำกัด. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานิเทศศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aaker, D. A. (1996). Building strong brands. New York: Free Press.

Alvarez del Blanco, R. (2010). Key elements in personal brand reputation, Personal Brands Manage your life with talent and turn it into a unique experience. London: Palgrave Macmillan.

Bhalotia, N. 2002. Personal Branding: “Me Inc.” Brandchannel. Retrieved July 4, 2010, from http://www.brandchannel.com/images/Papers/PersonalBrandingMelnc.pdf

Drewniany, B. & Jewler, A.J. (2007). Branding Defined, Creative Strategy in Advertising. Boston: Wadsworth Publishing.

Duncan, T. (2005). What “Brand” Means, Principles of Advertising & IMC. New York: McGraW-Hill.

Downloads

Published

2021-07-22