ความไร้สาระของชีวิตมนุษย์ในปรัชญาของอัลแบร์ กามูส์

An Absurdity of Life in Albert Camus’s Philosophy

Authors

  • ภมร ชูคันหอม
  • ชัยณรงค์ ศรีมันตะ
  • สกุล อ้นมา

Keywords:

สารัตถะของมนุษย์, ความไร้สาระของมนุษย์, ความหมายของชีวิต, ปรัชญาอัตถิภาวนิยม, อัลแบร์ กามูส์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดความไร้สาระของชีวิตมนุษย์ในปรัชญาของอัลแบร์ กามูส์ โดยศึกษาวิเคราะห์จากหนังสือ ตำรา เอกสารทั้งที่เป็นวรรณกรรม บทความและนวนิยาย รวมถึงงาน วิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แรกเกิดนั้นตัวตนมนุษย์ว่างเปล่า ไม่มีสิ่งใดติดตัวมนุษย์มา ชีวิตยังไม่มีความหมายกระทั่งพระผู้เป็นเจ้าได้ใส่สารัตถะให้แก่มนุษย์ สิ่งนั้นคือบาปกำเนิด ความเชื่อว่ามนุษย์มีบาปติดตัว กลายเป็นดั่งคลื่นกระแสสังคมที่กลืนกินเสรีภาพของปัจเจกโดยไม่รู้ตัวเสมือนเป็นโรคระบาดที่เรื้อรัง ที่แม้จะรักษาอย่างไรก็คงไม่หาย ด้วยความหวังว่าความเชื่อในพระเจ้าจะสร้างความหมายชีวิตให้แก่ตนเองและหลุดพ้นจากความผิดบาปได้ ด้วยความเชื่อและปฏิบัติตามพระเจ้าเท่านั้น โดยกามูส์มองว่า สารัตถะเหล่านั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์และสร้างขึ้นเอง ดังเช่น ซิเซอฟัสตัวละครที่กามูส์สมมติขึ้นมาเปรียบกับชีวิตมนุษย์ ที่ต้องภาระงานเข็นก้อนหินขึ้นไปสู่ยอดเขา ซึ่งเป็นการลงโทษจากพระเจ้า เวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งเป็นงานที่ไร้จุดหมายและไร้ผล เมื่อต้องตกอยู่ในสภาวะเช่นนี้ กามูส์จึงสอนให้เราหันมาพิจารณาถึงความต้องการของปัจเจก โดยกบฏหรือต่อต้านสารัตถะที่พระเจ้ามอบให้แก่มนุษย์นั้นเสีย เพราะถึงอย่างไรชีวิตมนุษย์ก็ยังเป็นสิ่งไร้สาระ  The purpose of this research is to study and analyze the concept of absurdity of human life in Albert Camus’s Philosophy by researching, and analyzing the concept from Camus’ essays, novels and related researches. The findings of the research reveal that a newborn human infant is empty, meaningless, and born with nothing until the essence of innate sin is filled by God. The belief that human beings are sinful has become the social waves which ingested individual freedom unconsciously. The sin has become a chronic uncurable disease. Human beings hope the faith in God will create meaningfulness in their own lives and will help them escape from sin. On the other hand, Camus believes that human is born with nothing, and human essence is filled and created by himself after his humanhood. Camus compares human life with Sisyphus whom he assumes to attempt repeatedly an uphill task commanded by God. This reveals an absurd and fruitless task. Camus advises to rebel and protest God and his essences due to the fact that human life is still absurd.

References

กีรติ บุญเจือ. (2522). ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

จินตนา ดำรงค์เลิศ. (2548). 100 ปี ชาตกาลของฌอง-ปอล ซาร์ตร์. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. วันที่ค้นข้อมูล 12 กรกฎาคม 2560, จาก https://bit.ly/3i0NiA8

เจษฎา ทองรุ่งโรจน์. (2537). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ปรัชญา (English-Thai Dictionary of Philosophy). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.

เจิด บรรดาศักดิ์. (2551). มโนทัศน์แอบเสิร์ดในปรัชญาของธอมัส เนเกล. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาพร หงส์ทอง. (2547). อัตบุคคลในทัศนะของฌากส์ ลากอง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปานทิพย์ ศุภนคร. (2517). ปัญหาความชั่วร้ายในปรัชญาคริสต์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระคริสตธรรมคัมภีร์. (1971). ขุมทรัพย์ที่ไม่มีวันสูญ (ภาคพันธสัญญาเดิม). กรุงเทพฯ: สมาคมพระคริสตธรรมไทย.

พินิจ รัตนกุล. (2555). วิเคราะห์แนวคิดนักเขียนนักคิดชาวฝรั่งเศส อัลแบร์ กามูส์ ปรัชญาแห่งความไร้เหตุผล. กรุงเทพฯ: สามัญชน.

วันชาติ ชาญวิจิตร. (2554). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในงานวรรณกรรมของอัลแบร์กามูส์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2539). ปรัชญาทั่วไป (มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2521). วิวัฒนาการความคิดเรื่องเสรีภาพและความรับผิดชอบในปรัชญาของซาร์ตร์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริจิตต์ ปันเงิน. (2542). ความตายในทัศนะของกามูส์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุพัตรา คำแก้ว. (2554). แนวคิดเรื่องมนุษย์ของอัลแบร์ กามูส์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์. (2543). แนวคิดปรัชญาอัตถิภาวนิยมในวรรณกรรมของชาติ กอบจิตติ ช่วง พ.ศ. 2522-2536. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

อัลแบร์ กามูส์. (2549). กาฬวิบัติ. (ประหยัด นิชลานนท์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สามัญชน.

อัลแบร์ กามูส์. (2559). คนนอก (พิมพ์ครั้งที่ 11). (อำพรรณ โอตระกูล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สามัญชน.

อัลแบรต์ กามูส์. (1955). เทพตำนานซีซีฟ. (วิภาดา กิตติโกวิท, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม.

อัลแบร์ กามูส์. (2500). ความตายอันแสนสุข. (อำพรรณ โอตระกูล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สามัญชน.

Camus, A. (1942). The outsider (1982). (J. Laredo, Trans.). London: David Campbell Publishers.

Camus, A. (1956). The rebel an essay on man in revolt. (A. Bower, Trans.) New York: Alfred A. Knopf, Inc.

Camus, A. (1946). The stranger. (G. Stuart, Trans.) New York: Alfred A. Knopf, Inc.

Camus, A. (1948). The Plague. (G. Stuart, Trans.) New York: The Modern Library.

Downloads

Published

2022-11-10