ศักยภาพการจัดการการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

The Potential of Interpretation Management in Phnom Rung Historical Park, Buriram Province

Authors

  • นภารัตน์ อยู่ประเสริฐ
  • ไพฑูรย์ มนต์พานทอง

Abstract

การวิจัยเรื่อง ศักยภาพการจัดการการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มายังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และ 2) ประเมินศักยภาพการจัดการการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการการสื่อความหมาย และนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชาวไทย จำนวน 18 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มายังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-30 ปี การศึกษาปริญญาตรี อาชีพลูกจ้าง/พนักงานเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 25,000 บาท และมีที่อยู่ปัจจุบันในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ขณะที่การประเมินศักยภาพการจัดการการสื่อความหมายด้านแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร ด้านสาร ด้านช่องทางการสื่อความหมาย และด้านผู้รับสารอยู่ในระดับมาก แต่การสัมภาษณ์พบว่า มัคคุเทศก์ไม่เพียงพอ เนื้อหาเข้าใจยาก เครื่องมือสื่อความหมายไม่เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของนักท่องเที่ยว และการขาดความรับผิดชอบต่อแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวบางท่าน  This research titled “The Potential of Interpretation Management in Phnom Rung Historical Park, Buriram Province.” The purposes of this study were to study the demographic characteristics of Thai tourists who visited Phnom Rung Historical Park, and to examine the potential of interpretation management in Phnom Rung Historical Park. Mixed research methodology was used for this study. For the qualitative research method, the key informants were 18 relevant interpretation management stakeholders and Thai historical tourists while samples for the quantitative research method were 400 Thai tourists who visited Phnom Rung Historical Park in the year 2018. The results of Thai tourists’ demographic characteristics revealed that the majority of tourists are female, aged between 20-30 years old, holding a bachelor’s degree, working as employees in private companies, earning more than 25,000 baht per month, and living in the northeastern region of Thailand. The potential of interpretation management in aspects of sources or senders, messages, channels of interpretation, and receivers were at a high level. This could be considered different from the interview results; including, the lack of tour guides, the information that was difficult to understand, the inappropriate channels of interpretation for the area and for the tourists’ needs, and the lack of responsibility of some tourists.

References

กรมการท่องเที่ยว. (2558). การสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทางประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม (แนวทางการจัดทำแผนการบริหารจัดการด้านสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชลลดา สิทธิฑูรย์. (2543). แนวทางการพัฒนาการสื่อความหมายธรรมชาติในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เชิดชาติ หิรัญโร. (2546). การสื่อความหมายและการรับรู้จากนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). การสื่อสารมวลชน กระบวนการและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2543). การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS สำหรับงานวิจัย: การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมภพ ชาตวนิช. (2552). การศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมของปราสาทหินพิมาย และปราสาทเขาพนมรุ้ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สายทิพย์ จันทรสุริยศักดิ์. (2556). การสื่อความหมายอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม, คณะโบราณคดี, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. (2549). ปราสาทเขาพนมรุ้ง: ศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เรือนบุญ.

สุวภัทร ศรีจองแสง. (2558). ศักยภาพการสื่อความหมายของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในเส้นทางท่องเที่ยวตามแนวคิดกลุ่มคลัสเตอร์ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Ababneh, A. (2017). Tour guides and heritage interpretation: guides’ interpretation of the past at the archaeological site of Jarash, Jordan. Journal of Heritage Tourism, 1-16. doi:10.1080/1743873X.2017.1321003.

Berlo, D. K. (1966). The process of communication; An introduction to theory and practice. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Boeije, H. R. (2009). Analysis in qualitative research. London: SAGE Publications Ltd.

Glaser, B. G., & Strauss, A. L. (2017). Discovery of grounded theory: Strategies for qualitative research. New York: Routledge.

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry (Vol. 75). Thousand Oaks: Sage.

Sarm, C. (2013). Managing interpretation at a UNESCO world heritage site: A supply-side perspective of Angkor Wat Temple, Cambodia. The Degree of Master of Tourism Management, Victoria University of Wellington.

Tilden, F. (2009). Interpreting our heritage. United States: University of North Carolina Press.

Downloads

Published

2022-11-11