โลกทัศน์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรที่ปรากฏในพระนิพนธ์ประเภทกาพย์เห่เรือและกาพย์ห่อโคลง

The Worldviews of Prince Dhammathibet in His Royal Barge Procession Boat Songs (Kap Hae Rua) and Odyssey (Kap Ho Klong)

Authors

  • ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ
  • อภิเดช สุผา

Keywords:

โลกทัศน์, เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร, กาพย์ห่อโคลง, กาพย์แห่เรือ

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โลกทัศน์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรที่ปรากฏในพระนิพนธ์ประเภทกาพย์เห่เรือและกาพย์ห่อโคลง ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ พบว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรได้แสดงโลกทัศน์ด้านต่าง ๆ ในพระนิพนธ์ประเภทกาพย์เห่เรือและกาพย์ห่อโคลง 5 ด้าน คือ โลกทัศน์ด้านความงาม โลกทัศน์ด้านธรรมชาติ โลกทัศน์ ด้านพุทธศาสนา โลกทัศน์ด้านความรัก และโลกทัศน์ด้านสังคม โลกทัศน์ด้านความงามปรากฏใน 2 ลักษณะ คือ ความงามของสตรี และความงามทางศิลปกรรม โลกทัศน์ด้านธรรมชาติปรากฏใน 2 ลักษณะ คือ ธรรมชาติเป็นสื่อชวนให้คิดถึงนาง และธรรมชาติเป็นสิ่งสวยงามให้ความรื่นรมย์ โลกทัศน์ด้านพุทธศาสนาปรากฏใน 3 ลักษณะ คือ ความเชื่อเรื่องกรรม ความศรัทธาของคนไทยที่มีต่อพุทธศาสนา และความเชื่อในเรื่องที่ว่าหากทำผิดจะต้องตกนรก โลกทัศน์ด้านความรักปรากฏใน 2 ลักษณะ คือ ความรักทำให้มีความสุข และความรักทำให้เกิดทุกข์ สำหรับโลกทัศน์ด้านสังคมนั้นปรากฏให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของพระมหากษัตริย์ และความเป็นอยู่ของนางในหรือนางสนมกำนัล This article aims to analyse the worldviews of Prince Dhammathibet which were appeared in his literary works regarding the royal barge procession boat songs (Kap Hae Rua) and odyssey (Kap Ho Klong). The results of the analysis indicate that Prince Dhammathibet had demonstrated his different worldviews in his literary works into five characteristics: beauty, nature, Buddhism, love and society. For the worldviews regarding beauty, it was found in two characteristics: the beauty of women and arts. For the worldviews regarding nature, it was also found in two characteristics: the nature is a medium which gets involved with women; and it is a beauty which provides joyfulness. The worldviews regarding Buddhism were shown in three aspects: the belief in karma, Thai people’s beliefs in Buddhism and the belief that is related to the punishment in hell. In terms of the worldviews regarding love, it was found in two characteristics: love offers happiness; and love creates suffering. Finally, the worldviews regarding society were represented through the lifestyle of the king and female attendants of the royal court.

References

กรมศิลปากร. (2545). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรรณิการ์ สาตรปรุง. (2541). ราชาธิราช สามก๊ก ไซ่ฮั่น โลกทัศน์ชนชั้นนำ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ. (2559). วรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2556). วรรณคดีกับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เทพมนตรี ลิมปพยอม. (2543). การบ้านการเมืองเรื่องเจ้าฟ้ากุ้ง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2552). พระประวัติและพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

น้อมนิจ วงศ์สุทธิธรรม. (2549). วรรณกรรมนิราศ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปัญญา บริสุทธิ์. (2523). โลกทัศน์ของคนไทยวิเคราะห์จากวรรณคดีคำสอนสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พระสุขุม สุขวฑฺโก และณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ. (2563). วัฒนธรรมไทยในวรรณกรรมประเภทกาพย์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร. ใน ปรัชญาสุวรรณภูมิ: กระบวนทัศน์พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาชีวิตในศตวรรษที่ 21. นครปฐมฯ: สาละพิมพการ.

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2555). บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมา. ใน หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2553). ลักษณะของวรรณคดีไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาการวรรณคดีไทย หน่วยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Man, O. นันท์ชญา มหาขันธ์. (2561). ตำนานสร้างโลกของกลุ่มชนชาติไท-จ้วง: โลกทัศน์ ความเชื่อ และพิธีกรรม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 16(52), 304-328.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2556ก). กาพย์เห่เรือจากสมัยอยุธยาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2556ข). ความรู้ทั่วไปทางภาษาไทย ตอนที่ 3 วรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริสาร เหมือนโพธิ์ทอง. (2559). จารึกล้านนา: สารัตถะและโลกทัศน์. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาไทยศึกษา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศุภร บุนนาค และสุริยา รัตนกุล. (2548). สุนทรียภาพจากเจ้าฟ้ากุ้ง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

เศรษฐวัฒน์ อุทธา. (2557). ไตรภูมิ พิพิธทัศนาพุทธจักรวาลทัศน์. กรุงเทพฯ: เอเธนส์ พับลิชชิ่ง.

สมรรัตน์ พันธุ์เจริญ. (2542). พื้นฐานวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

สุภาพร คงศิริรัตน์. (2553). การศึกษาพระโลกทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุภาพร คงศิริรัตน์. (2558). โลกทัศน์ของลาวที่ปรากฏในคอลัมน์ “นานาสาระ” ของหนังสือพิมพ์เวียงจันใหม่. วารสารรมยสาร, 13(3), 107-135.

Downloads

Published

2022-11-23