การถือครองที่ดินในพื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราด : ปัญหาความขัดแย้งและทางเลือกการแก้ไขปัญหา

Land Possession in Trat Bay, Trat Province: Problems and Solutions

Authors

  • สกฤติ อิสริยานนท์
  • ชยาภรณ์ จตุรพรประสิทธิ์

Keywords:

การถือครองที่ดิน , ยุติธรรมชุมชน , จังหวัดตราด, Land possession, Community justice

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทบทวนสภาพปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการถือครองที่ดินในพื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราด 2) เพื่อนำเสนอทางเลือกให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายหรือมาตรการในการจัดการปัญหาความขัดแย้งประเด็นปัญหาที่ดิน พื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราดการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ 3 วิธีการ คือ 1) การศึกษาจากเอกสาร 2) การสัมภาษณ์ และ 3) การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม โดยผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า สภาพปัญหาที่ดินของพื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราด ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมา เนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการถือครองที่ดินของระบบและการจัดการเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดินนับตั้งแต่ในอดีต รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ โดยมีปัญหาที่สำคัญใหญ่ 2 ประการ ได้แก่ 1) สภาพปัญหาและความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับการทับซ้อนของสิทธิในการถือครองที่ดิน คือ ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของประชาชนและการบุกรุกกับที่ดินของรัฐ ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของประชาชนกับที่ดินของนายทุน ปัญหาการครอบครองที่ดินโดยไม่ถูกต้อง ปัญหาไม่มีที่ดินทำกินของประชาชน ปัญหาที่ดินหลุดมือ และปัญหาพื้นที่แนวเขตการปกครองทับซ้อนกับที่ดินของประชาชน 2) สภาพปัญหาและความขัดแย้งที่เชื่อมโยงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินทับซ้อนระหว่างประชาชนกับรัฐ ประชาชนกับนายทุน ปัญหาการจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน และผลการศึกษาจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ทางเลือกในการขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาโดยการจัดการทรัพยากรร่วมกันภายใต้การขับเคลื่อนในลักษณะภาคีเครือข่ายสาธารณะ รวมไปถึงรัฐควรนำแนวคิดยุติธรรมชุมชนซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกเข้ามาใช้ในการจัดการทรัพยากรบนพื้นฐานของความร่วมมือของชุมชน เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่ดินร่วมกับประชาชนในพื้นที่เพื่อลดความรุนแรงลง   This article aims to review the condition of land conflicts and to propose alternative solutions to land problems in Trat Bay area, Trat Province. This qualitative consisted of three types of data collection methods: 1) the document reviews, 2) the interviews, and 3) the non-participant observations. The results of the study according to objective 1 revealed that the condition of land problems in the Trat Bay area, Trat Province was a long-standing problem due to problems in the system and management of the a land ownership from the past to present, including various government policies which were two major problems: 1) Conditions of problems and conflicts related to the overlapping of the right to own the land, namely the problem of overlapping areas of the people and the encroachment of the state's land, the problem of overlapping areas of the people and the land of the capitalists, and the problem of illegal land ownership, the problem of having no land to cultivate, the land problem of administrative boundaries overlapping with people's land, 2) the problem conditions and conflicts related to land use that included the issues of overlapping land use between people and the state, people and capitalists, resource management issues related to land, and the finding of the study from objective 2 revealed that driving alternatives in solving problems by managing resources of public networks, including adopting the concept of community justice in resource management based on community cooperation which was considered as an alternative solution of the land problem, as well as the cooperation with local people to reduce any other violence.

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2545). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: ทางเลือกใหม่สำหรับกระบวนการ ยุติธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กองพัฒนายุติธรรมชุมชน. (2557). บทบาทหน้าที่ของส่วนราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรมในการดำเนินงานตามแนวทางการรับและแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ตามนโยบายการอำนวยความยุติธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้าในสังคม. ใน เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.

คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลเกาะหมาก. (2559). การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยตำบลเกาะหมาก. ตราด: คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลเกาะหมาก.

คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลคลองใหญ่. (2559). แนวทางการพัฒนา ที่ดินทำกิน ที่อยู่ อาศัยตำบลคลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด. ตราด: คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลคลองใหญ่.

คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลชำราก. (2559). การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยตำบลชำราก. ตราด: คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลชำราก.

คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลหนองคันทรง. (2559). แนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยตำบลหนองคันทรง. ตราด: คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลหนองคันทรง.

เครือข่ายภูมินิเวศน์อ่าวตราด. (2559). พื้นที่ “อ่าวตราด” จ.ตราด. ตราด: เครือข่ายภูมินิเวศน์อ่าวตราด.

เครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป. (2556). รายงาน: ภาพรวมปัญหาที่ดิน และแนวทางแก้ไข. วันที่ค้นข้อมูล 18 มกราคม 2559, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3msz8Kt

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย และคณะ. (2548). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: การคืนอำนาจ แก่เหยื่ออาชญากรรม และชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวินัย (สกว.).

ชล บุนนาค. (2555). แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม: ประสบการณ์จากต่างประเทศและแนวคิดในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะทำงานเครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป.

ดวงกมล เลาวกุล. (2557). การกระจุกตัวของความมั่งคั่งในสังคมไทย. ใน สู่สังคมไทยเสมอหน้า. (หน้า 37 59). กรุงเทพฯ: มติชน.

นิตยา โพธิ์นอก และณัฎฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี. (2560). ระบบยุติธรรมชุมชนในประเทศประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปัทมาวดี โพชนุกูล. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบคำบรรยายเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผู้นำชุมชนในพื้นที่อ่าวตราด. (2561, 25 พฤษภาคม). สัมภาษณ์.

สิทธิโชค ลางคุลานนท์ และคณะ. (2563). การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ภายใต้แนวคิดยุติธรรม ชุมชน: กรณีศึกษาเครือข่ายยุติธรรมชุมชน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(1), 52-73.

สำนักงานจังหวัดตราด. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดตราด (พ.ศ. 2557 2560) ฉบับทบทวนใหม่ (รอบปี พ.ศ. 2560). ตราด: กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดตราด.

อภิรดี พลีน้อย และคณะ. (2555). การพัฒนาการจัดการความขัดแย้งในชุมชน โดยใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชนโดยอาสาสมัครไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม), 39-48.

Braithwaite, J. (1998). Restorative Justice. In M. Tonry (ed.). The Handbook of Crime and Punishment. New York. Oxford University Press.

Ostrom, E. (1990). Governing the Commons: The Evolution of Institutions for Collective Action. New York: Cambridge University Press.

Downloads

Published

2022-10-28