ปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Authors

  • พชรดนัย วัชรธนพัฒน์ธาดา

Abstract

            งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับลักษณะของการคอร์รัปชัน ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชัน เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันและลักษณะของการคอร์รัปชันจำแนกตามปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการคอร์รัปชันกับลักษณะของการคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรกลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์ และกลุ่มงานการเงินบัญชีและการตรวจสอบ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด จำนวน 175 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติอ้างอิงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธี Pearson โดยวิธีของ Least Significant Difference (LSD) และ Spearman Rank Correlation           ผลการวิจัยพบว่า          (1) ลักษณะของการคอร์รัปชันในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.15)          (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.59) โดยด้านสิ่งจูงใจอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย = 2.03) อีก 3 ด้าน คือ ด้านโอกาส ด้านความเสี่ยงภัย และด้านความซื่อสัตย์อยู่ในระดับปานกลาง          (3) ลักษณะของการคอร์รัปชัน พบว่า ระดับการศึกษาส่งผลต่อการคอร์รัปชันในด้านการยักยอก ด้านการเรียกรับเงิน และด้านการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชัน พบว่า เพศและระดับการศึกษาส่งผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01          (4) ลักษณะของการคอร์รัปชันกับปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันมีความสัมพันธ์กันทางบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกันในระดับสูงมาก (r = .92**)           The objectives of this research were to study the level of corruption factors affecting corruption study and compare the differences of factors affecting corruption. And the nature of corruption classified by personal information factors and study the relationship between various factors affecting corruption and the nature of corruption in local administrative organizations Samples were personnel, work groups, laws, regulations and grievances. And finance, accounting and auditing groups under the Jurisdiction of the Office in local administration. The samples were 175 people obtained by simple random sampling. Data were collected by using a questionnaire and analysis by descriptive statistics. And statistics of correlation coefficients using Pearson method by Least Significant Difference (LSD) and Spearman Rank Correlation         The finding of research were:         (1) The characteristics of corruption in the overall and individual aspects were at the moderate level. (average = 3.15)         (2) Factors affecting the overall corruption in the medium level (average = 2.59), with the incentives being at a low level (average = 2.03). Risk and honesty were at a moderate level.         (3) The nature of corruption found that education levels affect corruption in the misappropriation of money. And the conflict of interest the factors that affect corruption found that gender and education levels affect factors that affect corruption were statistically significance at .01 level.        (4) The nature of corruption and factors affecting corruption positive relationship in the same direction very high level. (r = .92 **)

Downloads

Published

2022-12-23