การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลท้องถิ่น : ปัญหาและข้อเสนอเพื่อการปรับปรุง

Authors

  • นคร เสรีรักษ์
  • กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์
  • ระดาภัทร จงธรรมคุณ
  • วรงค์กฤษณ์ จตุภัทร์วงศา
  • นิชานันท์ นันทศิริศรณ์
  • อรรถพล เมืองมิ่ง

Abstract

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ตลอดจนปรากฏการณ์จริงในการวางแผนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อวิเคราะห์ข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงกระบวนการการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลท้องถิ่น งานวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร ได้แก่ แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับการสัมภาษณ์สอบถามความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านการวางแผนขององค์กรซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น  ผลการศึกษาพบว่า ในกระบวนการจัดทำแผนในระดับท้องถิ่นในปัจจุบัน ยังไม่มีการถ่ายทอดนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ทำให้บุคลากรใน อปท. มีข้อจำกัดเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนฐานดิจิทัล จึงไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ในกระบวนการวางแผนในระดับท้องถิ่นโดยใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกรอบดำเนินการ นอกจากนี้การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภาพรวมถือว่ายังไม่เพียงพอที่จะพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านการวางแผนของอปท. ในการนำแนวคิด นโยบาย และวิธีคิดแบบดิจิทัลมาใช้ในการจัดทำแผนในระดับท้องถิ่น  จากภาพสะท้อนปรากฏการณ์และปัญหา งานวิจัยนี้เสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขว่าควรมีการสั่งการมอบหมายนโยบายอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลถึงหน่วยปฏิบัติทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน  นอกจากนี้ ควรมีการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และควรมีการจัดทำคู่มือ เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับบุคลากรท้องถิ่นทุกระดับ            The purpose of this research is to (1) study the process, procedures and methods of local planning; (2) study the real phenomena concern the Local Digital Economy Development Planning (LDEDP); (3) provide recommendations on LDEDP development; and (4) help local-government staff develop enhance their planning skills and techniques. This qualitative research explores the Digital Development Plan for the Economy and Society, along with interviewing experts and those who are responsible for the national and local planning in government agencies in central, provincial, and local administrations. The study finds that in the current planning system, there has not been a concrete knowledge transfer on Digital Economy from the Ministry of Digital Economy and Society to local government organizations. This limits the local staff’s knowledge and understanding of digital economy development, hence hurting their chances to operate local planning using the digital economy development as part of a policy framework. From the reflection of the phenomena and problems on LDEDP, this research proposes that there should be an official assignment of policy from the government to all operating agencies concretely. There should also be a proper transfer of knowledge on the development of digital economy and society to all state employees, both at management and operating levels. Furthermore, manual guides or handbooks as well as formatted documents and computerized applications should be prepared and fully utilized as a tool for local planning operation.

Downloads

Published

2022-12-23