มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย

Authors

  • กัญญรัตน์ ซ้ายพัฒน์
  • จินตนา ตันสุวรรณนนท์

Abstract

                 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) เริ่มต้นด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อค้นหาสภาพปัญหา สาเหตุและแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามสำหรับใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ ประธานกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 416 คน ตามสูตร Yamane (Yamane, 1973) กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 5 และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้จังหวัดและกลุ่มประชากรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA)                 ผลการศึกษา พบว่า มาตรการป้องกันปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทยที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ มี 4 มาตรการหลัก ได้แก่ 1) มาตรการสร้างและพัฒนาระบบส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ 2) มาตรการสร้างระบบกำกับดูแลและตรวจสอบภายในสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ 3) มาตรการกำหนดนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบและจริยธรรมเพื่อการปฏิบัติงานที่โปร่งใส และ 4) มาตรการสร้างความร่วมมือในขบวนการสหกรณ์เพื่อการป้องกันการทุจริต สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย มี 2 มาตรการหลัก ได้แก่ 1) มาตรการดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด และ 2) มาตรการเยียวยาผู้เสียหายและบรรเทาความรุนแรงของปัญหาการทุจริต ทั้งนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย และวางระบบหรือพัฒนาระบบการกำกับดูแลสหกรณ์การเกษตรที่มีประสิทธิภาพต่อไป             The main objective of this study was to propose the measures in preventing and solving fraud problems of agricultural cooperatives in Thailand by using mixed methodology. The study started with the qualitative research conducted by using in-depth interviews with key informants to find the causes of problem conditions and ways of preventing and solving fraud problems of agricultural cooperatives in Thailand. Data analysis was performed by using the content analysis. Subsequently, the results of the content analysis were used as a guideline for creating questionnaires for the quantitative research. Data were collected from 416 samples of cooperative inspectors, public cooperative auditors and the president of cooperative member group, by using the Yamane formula (Yamane, 1973). The errors were determined to be of 5 percent. The stratified random sampling was performed by using the provinces and the samples group as the criteria in the classification for the Exploratory Factor Analysis (EFA).               It was found from the results of the study that there were 4 key preventive measures against problems that were found in Thailand’s agricultural cooperatives, which included 1) the measure in building and developing an effective promoting, supporting and supervising system for the cooperatives, 2) the measure in creating efficient system for the supervision and internal audit of cooperatives, 3) the measure in specifying the policies, laws, regulations, and ethics for transparent operations; and 4) the measure in boosting cooperation among the cooperative movements to prevent fraud from happening. Aside from these, there were 2 main measures in solving the problem of fraud in the agricultural cooperatives in Thailand as follows: 1) the measure in dealing with offenders under the strict legal procedures; and 2) the measure in remedying the victims and relieving the severity of fraud problems. However, the concerned parties could also apply this for the policy making and could establish a system or develop an effective supervising system for agricultural cooperatives further.

Downloads

Published

2022-12-23