ดนตรีในประเพณีแห่พญายม ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Authors

  • กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ

Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาดนตรีที่เกี่ยวข้องกับประเพณีแห่พญายม ตำบลบางพระ จังหวัดชลบุรี ผลการวิจัยพบว่า ดนตรีที่ใช้ในพิธีแห่พญายม 2 ลักษณะ คือ ดนตรีที่ใช้ในขบวนแห่ ประกอบด้วยคณะกลองยาวจำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะกลองยาวนายสาคร มีทรัพย์ คณะนายสมควร บุญรอด และคณะโรงเรียนอนุบาลบางพระ โดยคณะนายสมควร บุญรอด มีเครื่องดนตรีดำเนินทำนอง ได้แก่ ระนาดเอกและซอด้วง บทเพลงที่พบได้แก่ เพลงจีนตอกไม้ เพลงพม่าทุงเล เพลงพม่ารำขวาน สำหรับดนตรีประโคมพิธีบวงสรวงมีพราหมณ์ปาฏิหาริย์ สยมภพ จากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ทำพิธี พบเครื่องดนตรีได้แก่ ฆ้องชัย สังข์ และบัณเฑาะว์ แบ่งพิธีกรรมเป็น 11 ขั้นตอน มีประโคมดนตรีทั้งหมด 5 ครั้ง คือ การเชิญเทวดา การอวยพรผู้เข้าร่วมพิธี การถวายเครื่องสังเวย การกล่าวอวยพร และการโปรยข้าวตอกดอกไม้ การประโคมดนตรีทั้ง 5 ครั้ง โดยพบว่าการประโคมครั้งที่ 1-4 ฆ้องชัยเริ่มเป็นสัญญาณให้สังข์และบัณเฑาะว์บรรเลงพร้อมกันอย่างต่อเนื่อง และเมื่อฆ้องชัยลั่นถึงครั้งที่ 3 เป็นสัญญาณให้หยุด และในการประโคมครั้งที่ 5 เป็นการประโคมที่ใช้เวลายาวนานที่สุด นอกจากนี้ยังพบเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวข้อง คือ เพลงสาธุการ เพลงโปรยข้าวตอก และเพลงตระเชิญ ซึ่งเพลงตระเชิญถูกนำมาในการอันเชิญสิ่งศักดิ์ในพิธีบวงสรวงพญายมในอดีต This is a qualitative research, the study aimed to investigate Music used in Paya Yom procession tradition in Bang Pra Sub-district, Sri Racha District, Chonburi in 2017. Two kinds of music were found, firstly, the music used in the Paya Yom procession were Klong Yao or the long tail drum ensemble. There were 3 troupes of Klong Yao who were willing to join the festival without any payment consisted of Sakorn Meesub troupe; Somkuarn Boonrod troupe; and BangPra Kindergarten school troupe. The Klong Yao playing pattern of Somkuarn Boonrod troupe used melodic instruments: Ranat Ek and Saw Duang to play the pieces such as Chine Tok Mai; Pama Tungle; Pama Rum Kwan etc. Secondly the music used in the Paya Yom warship ritual led by Brahman Patiharn Sayompop who came from Devasthan Brahman shrine, Bangkok. The ensemble called Prakom ensemble consisted of Kwang Chai; Sung; and Bundor. The warship ritual was divided into eleven stages, the music was played in five stages of the ritual: inviting the angels; blessing the participants; offering oblation; blessing, and spreading the flower. According to the five times playing of Prakom music, Kwang Chai was played for three times slowly, at the first play of Kwang Chai, Sung and Bundor played together continuously and stop by the last play of Kwang Chai, the last stage of music playing was the longest. There are ritual songs involved: Satukarn; Proy Kaotok; and Tra Choen, especially Tra Choen used to accompany the ritual in the past.

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. 2560. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2560. จาก http://ich.culture.go.th.

กรมศิลปากร. (2551). เครื่องดนตรีไทย พิมพ์อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์เทพยพงศ์ เทวกุล ณ เมรุวัดมกุฏกษัติยาราม. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ. (2558). บทเพลงประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี. งบประมาณกองทุนวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2558. คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา.

ถาวร แสงจิต. (2560, 15 เมษายน). สัมภาษณ์.

ประสิทธิ์ ถาวร. (2559). หนังสือที่ระลึกพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2555: เพลงหน้าพาทย์ในพิธีไหว้ครู (หน้า 43-45). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาฏิหาริย์ สยมภพ. (2560, 18 เมษายน). สัมภาษณ์.

แปลก เหมือนนุช. (2560, 15 เมษายน). สัมภาษณ์.

ภัทระ คมขำ. (2558). ดนตรีในพระราชพิธีสิบสองเดือนตามวาระที่ปรากฏในปฏิทินหลวง. วารสารศิลปกรรม, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1. 135 – 155.

สาคร มีทรัพย์. (2560, 15 เมษายน). สัมภาษณ์.

สมควร บุญรอด. (2561, 7 มีนาคม). สัมภาษณ์.

Downloads

Published

2022-10-27