วงดนตรีจิตอาสาเชียงใหม่ : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนด้วยดนตรี

Authors

  • อัจฉรา อุ่นใจ
  • นรเศรษฐ์ อุดาการ

Abstract

บทความวิชาการเรื่องวงดนตรีจิตอาสาเชียงใหม่ : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนด้วยดนตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอที่มา กระบวนการในการดำเนินกิจกรรมของวงดนตรีจิตอาสาและข้อมูลการก่อตั้งวง การน้อมนำพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มาเป็นแนวทางปฏิบัติหลักในการดำเนินกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนที่ตนอยู่อาศัย อีกทั้งยังขยายโอกาสให้แก่เยาวชนที่ขาดโอกาสในการเรียนดนตรี ให้มีความรู้และมีความสามารถในการต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้เพื่อนำไปประกอบอาชีพด้านดนตรีในอนาคต ปราศจากข้อจำกัดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเชื้อชาติ กิจกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจโดยยึดหลักของความเป็นจิตอาสา ประกอบกับการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้ามาสนับสนุนเพื่อเติมเต็มในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่ เครื่องดนตรีและด้านการเรียนการสอนทักษะของวง ซึ่งประกอบไปด้วยนักดนตรีอาชีพ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเรียน นักศึกษาดนตรี ข้าราชการ ซึ่งทุกคนมาด้วยความสมัครใจโดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ วงดนตรีจิตอาสาเชียงใหม่ “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” จึงเกิดขึ้นมาได้ไม่ใช่เพียงแค่การอาสาเท่านั้น แต่เป็นการอาสาที่มาจากจิตสำนึกของสมาชิกวงทุกคนที่พร้อมจะแบ่งปันและช่วยเหลือชุมชนและสังคมเมืองเชียงใหม่ให้มีความสุขอย่างยั่งยืน  The Royal Project of Music Voluntaries, Chiangmai – Strengthening the community with music. The objective of this article is to demonstrate the origin, process and activities  of the Royal Project of Music Voluntaries. The information around the program origin is discussed along with how the King Rama X’s guidance has become a streamline of its main practices. The program’ activities help develop the community where it sits and extend the support to the young and disadvantaged people. For those lacking opportunities to learn music, this can provide future possibilities in music career without any financial, social and ethnic limitations. All activities are voluntarily run and participated by the program’s members. The program has also received excellent supports from many institutes and individuals, including the practice venue, instruments as well as the musical expertise for the band. Some of the individual experts are university lecturers, music students,  professional musicians and government officials. The Royal Project of Music Voluntaries has therefore been formed with the intent that ‘we do good deed with our hearts’. As such, the project is originated not only because of the voluntaries of all members but also their willingness to share, making Chiangmai a sustainable quality and happy community.

References

คณะทำงาน. (2561). รายงานผลงานกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานจังหวัดเชียงใหม่. โครงการวงดนตรีจิตอาสาเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ศิริณา จิตต์จรัส, บุญสืบ บุญเกิด. (2561). การพัฒนามนุษย์ด้วยดนตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2561) หน้า 65-74

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

หน่วยราชการในพระองค์. (ม.ป.ป.). จิตอาสา “เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” สืบค้นวันที่ 20 มิถุนายน 2562, จาก https://www.royaloffice.th

Ogawa, M. (2010). Japan: Music as a tool for moral education?. The origin and foundations of Music Education. (205-219). Continuum International Publishing Group, London, UK.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ม.ป.ป.). การพัฒนาศักยภาพคนไทย: หนทางสู่งสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้. สืบค้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.nesdb.go.th/images/content/book66-45.pdf

Downloads

Published

2022-10-27