รูปแบบการดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพของกรรมกรก่อสร้างในเขตจังหวัดชลบุรี

A model of self - care program for health promotion of constructive laborers in Chonburi Province

Authors

  • ศิริพร ทูลศิริ
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล

Keywords:

คนงานก่อสร้าง, สุขภาพและอนามัย, วิจัย, กรรมการ, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อน และหลังการทดลอง (The Pretest-Posttest Design with Non-equivalent Groups) มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดูแล ตนเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ของกรรมกรก่อสร้าง ก่อนและหลังการอบรม ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับ การอบรมกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการอบรม กลุ่มตัวอย่างคือกรรมกรก่อสร้างทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่ทํางานก่อสร้างในเขตจังหวัดชลบุรี จํานวน 50 คน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2542 โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทั้งกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมด้วยเครื่องมือที่ประกอบด้วยข้อมูล พื้นฐานส่วนบุคคล และพฤติกรรมการดูแลตนเองทั้งหมด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นระดับสูง (=.81) สําหรับกลุ่มทดลองได้ให้การอบรมการดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ประกอบคู่มือการดูแลตนเองด้านสุขภาพ และสัมภาษณ์ซ้ำหลังการอบรมแล้ว 1 เดือน นําข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรม SPSS for Windows หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการ ดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพของกรรมกรก่อสร้าง ก่อนและหลังการอบรม ในกลุ่มทดลองที่ได้รับการอบรม สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการอบรมอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.05) และพฤติกรรมการดูแล ตนเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพของกรรมกรก่อสร้าง ในกลุ่มทดลอง หลังได้รับการอบรมสูงกว่าก่อนได้รับ การอบรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.05) แสดงให้เห็นว่า การอบรมการดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ประกอบคู่มือการดูแลตนเอง ด้านสุขภาพเป็นรูปแบบหนึ่ง ที่กระตุ้นให้กรรมกรก่อสร้าง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดี และสามารถนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน เพื่อให้ตนเองมีสุขภาพอนามัยที่ดีต่อไป       The objectives of this research were to study self care behavior in right of health promotion of constructive laborers between experimental group and control group. Subjects included 50 constructive laborers who were in Chonburi Province. They were randomly assigned to either the experimental or the control group. Each group consisted of 25 laborers. Those in the experimental group received a program self - care activities for health promotion, whereas the control group did not receive such program. Data were collected  before and after program and then were analyzed by frequencies, percentages, arithmetic mean, standard deviations and t-tests. Results indicated that self – care behavior of the experimental group was significantly higher than that of the control group (p<.05), Self - care behavior of the experimental group after the program was significantly higher than that before the program (p<.05).

Downloads

Published

2022-06-16