การวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์

Research involving human subjects

Authors

  • ชนุตรา อิทธิธรรมวินิจ

Keywords:

มนุษย์, วิจัย

Abstract

          ในปัจจุบันประเทศไทยมีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ มนุษย์เป็นจํานวนมาก ทําให้เกิดปัญหาทางจริยธรรม และทางกฎหมาย ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กําหนดส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ  วิจัยไว้ว่า ต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรม อันดีงามของประชาชน และยังต้องอยู่ในขอบเขตแห่ง จริยธรรมที่สังคมยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาอีกด้วย (วิชา มหาคุณ, 2541 : 2-3) ซึ่งพบว่าบางครั้งหรือ บ่อยครั้งที่ผู้วิจัยได้ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่ได้ ตั้งใจ มีการปฏิบัติต่อผู้ถูกทดลองหรืออาสาสมัครไม่  เหมาะสม ไม่ตระหนักถึงจริยธรรม เพราะการกระทําตามแบบอย่าง ตะวันตกหรือแฝงไว้ด้วยประโยชน์ส่วนตัว  (แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2541 : 7) ผู้วิจัยควรจักต้อง พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติมาก  น้อยเพียงใด และขัดแย้งกับจริยธรรมและกฎหมาย หรือไม่ นอกจากนี้ผู้วิจัยจะต้องกระทําด้วยความ เคารพในความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกทดลองหรืออาสาสมัคร และต้องศึกษาหลักเกณฑ์ที่เป็นสากล และหน่วยงานเพื่อถือปฏิบัติที่ถูกต้อง อย่างไรก็ดี การตระหนักถึงจริยธรรม ย่อมก่อให้เกิดผลดีทั้งต่อตัว ผู้วิจัยและผู้ถูกทดลองหรืออาสาสมัคร และยังเป็นการกระทําที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจริยธรรมและกฎหมาย ที่ไม่สามารถแยกกันได้ชัดเจน เพราะเป็นการกระทําต่อมนุษย์ไม่ว่าจะกระทําต่อตนเองหรือผู้อื่น  การพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีความจําเป็นต้องทําวิจัยหรือทดลองเพื่อให้ ได้ความรู้ใหม่ การค้นคว้าวิธีการรักษาพยาบาล การค้นคว้าตัวยาหรือวัคซีนที่ใช้ใน ทางการแพทย์หลายชนิดจําเป็นต้องทดลองในคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้าทดลองในสัตว์ทดลองอาจได้ผลที่แตกต่าง จากการทดลองในคน ทําให้ผลการทดลองไม่สามารถ นํามาใช้กับคนได้ ซึ่งการทดลองบางอย่างก่อให้เกิด อันตรายต่อผู้ถูกทดลองได้ อย่างไรก็ตาม การวิจัยหรือ การทดลองเพื่อค้นคว้าสิ่งใหม่อันเป็นประโยชน์ต่อ มนุษย์ชาติยังคงต้องดําเนินการต่อไป  การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ หมายถึงการกระทําใด ๆ ก็ตามต่อบุคคลเพื่อต้องการทราบถึงผลที่จะ เกิดขึ้นกับบุคคลนั้น (Reich, 1982 : 1481) เป็นการค้นคว้าทดลองกับมนุษย์เพื่อให้ได้เทคนิควิธี การใหม่ที่ดีกว่าเดิมแล้วนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป (Arras & Steinbock, 1997 : 517) ซึ่งการกระทําดังกล่าวอาจเป็นการกระทําที่เกี่ยวกับการดูแลรักษา ผู้ป่วย หรือผู้ที่ไม่ป่วยก็ได้ เพื่อจุดมุ่งหมายที่จะได้รับ ความรู้จากการกระทํานั้น ๆ และยังรวมถึงการศึกษา เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย (วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2533 : 183) ฉะนั้น การวิจัยที่เกี่ยวกับมนุษย์จึง เป็นการกระทําต่อคนด้วยวิธีการใดก็ตาม เพื่อต้องการทราบผลที่จะเกิดขึ้นจากคนที่ถูกทดลองทั้งในคนที่เจ็บป่วยและปกติ

Downloads

Published

2022-06-16