บทบาทพยาบาลในการดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่

Nursing care child with cleft lip cleft palate

Authors

  • นฤมล ธีระรังสิกุล

Keywords:

ปากแหว่ง, เด็กพิการ, การดูแล, พยาบาลกับผู้ป่วย, Cleft lip, เพดานโหว่, Cleft palate

Abstract

          ปากแหว่ง (Cleft lip) เพดานโหว่ (Cleft palate) เป็นความผิดปกติหรือ ความพิการของใบหน้าที่พบ  ได้บ่อยที่สุด ประมาณร้อยละ 35-40 เป็นผลมาจาก ความล้มเหลวในการพัฒนาขณะเป็นเอมบริโอ สาเหตุยังไม่ทราบแน่นอน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อมและการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ ปากแหว่งเพดานโหว่ทําให้เด็กมีปัญหาในการดูดนมทําให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนตามมา อาจมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ในทารกถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดในระยะแรก เมื่อเด็กโตขึ้นจะทําให้มีปัญหาในการพูด การได้ยิน และบุคลิกภาพ นอกจากนั้นยังทําให้บิดามารดาและ ตัวเด็กมีปมด้อยในการเข้าสังคม ดังนั้นพยาบาลจึง ควรให้ความสนใจและเห็นความสําคัญในการพยาบาล ก่อนและหลังผ่าตัด ตลอดจนการให้คําแนะนําแก่บิดา มารดาในการดูแลเด็ก รวมทั้งภาวะจิตสังคมของบิดามารดาและเด็ก  ปากแหว่งและเพดานโหว่เพียงอย่างเดียวพบ 1:1,000 และ 1:2,500 ของทารกแรกเกิด (Ashwill 1997 : 720) พบแตกต่างกันตามเพศคือเพศชาย มักพบทั้งปากแหว่งร่วมกับเพดานโหว่มากกว่าเพศหญิง ส่วนเชื้อชาติพบว่าชาวญี่ปุ่นพบมาก แต่ชาวอาฟริกาพบน้อย ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือและอีสาน  เด็กปากแหว่งพยาบาลจะเห็นได้ทันทีหลังคลอด อาจแหว่งเพียงข้างเดียว (Unilateral) พบ 2 ใน 3 ของเด็กปากแหว่งซึ่งแหว่งด้านซ้าย และเป็นชนิดไม่สมบูรณ์ (Incomplete) คือมีผิวหนังเชื่อมข้างที่แหว่ง กับไม่แหว่ง บางรายแหว่งสองข้าง (Bilateral) ความยาวของปากแหว่ง แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของความผิดปกติของจมูก กล่าวคือ ถ้าเป็นชนิดสมบูรณ์ (Complete) จะพบว่าริมฝีปากฐานจมูกและกระดูก แอวีโอลัส (Alveolus) เป็นร่องแหว่งหายไปโดยไม่มีผิวหนังเชื่อม

Downloads

Published

2022-06-16