ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการของบิดามารดาเมื่อเด็กมีภาวะไข้

Factors related to Parents’ Childhood Fever Management

Authors

  • ศุภิศา ลี้มิ่งสวัสดิ์
  • สุนี พงศ์จตุรวิทย์
  • นุจรี ไชยมงคล

Keywords:

ภาวะไข้ในเด็ก, เด็ก, Fever management, Fever in childhood

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อ และแหล่งข้อมูล กับการจัดการของบิดามารดาเมื่อเด็กมีภาวะไข้ กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดาหรือมารดาของเด็กที่มีภาวะไข้ และเข้ารับการตรวจรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวนทั้งหมด 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามความรู้ในการดูแลเด็กที่มีภาวะไข้ แบบสอบถามความเชื่อในการดูแลเด็กที่มีภาวะไข้และแบบสอบถามการจัดการของบิดามารดาเมื่อเด็กมีภาวะไข้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89, .87, และ .94 ตามลำดับ และค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามแต่ละชุกเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล  ผลการวิจัยพบว่า บิดมารดามีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลเด็กทีมีภาวะไข้ในระดับถูกต้องมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.11 (S.D. = 2.02, range = 5-15) ค่าคะแนนความเชื่อโดยรวมในการดูแลเด็กที่มีภาวะไข้อยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.36 (S.D = 3.6, range = 33-52) และคะแนนการจัดการโดยรวมของบิดามารดาเมื่อเด็กมีภาวะไข้อยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 51.04 (S.D. = 6.05, range = 36-68) โดยความเชื่อในการดูแลเด็กที่มีภาวะไข้มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการจัดการของบิดามารดาเมื่อเด็กมีภาวะไข้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .431, p < .01) ความรู้ในการดูแลเด็กที่มีภาวะไข้ไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการของบิดามารดาเมื่อเด็กมีภาวะไข้ (p > .05)  ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า พยาบาลควรส่งเสริมให้บิดามารดามีความเชื่อที่เหมาะสมเกี่ยวกับภาวะไข้ในเด็ก ซึ่งจะส่งผลให้บิดามารดามีการจัดการภาวะไข้ในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดอันตรายจากภาวะไข้สูงในเด็ก  The purpose of this descriptive correlational study was to examine relationships between knowledge about childhood fever management, belief about childhood fever management, information sources about childhood fever management. Sample included 76 parents of children with ever service at outpatient department, the Kabinburi hospital, Prachin Buri province. The study instruments composed of the demographic questionnaire, the knowledge about childhood fever management questionnaire, the belief about childhood fever management questionnaire, and the parents’ pediatric fever management questionnaire. Internal consistency  reliability of instruments wee .89, .87 and .94, respectively. The Content Validity Index (CVI) of each instrument was .93. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficients, and Piont biserial correlation.  The results revealed that total mean score of knowledge about childhood fever management was 11.11 (S.D. = 2.02, range = 5-15), total mean score of belief about childhood fever management was 43.36 (S.D = 3.6, range = 33-52), and total mean score of parents’ pediatric fever management was 51.04 (S.D. = 6.05, range = 36-68). Belief about childhood fever management had a moderately positive relationship with parent’s childhood fever management (r = .431, p < .01). There was no significant association between knowledge about childhood fever management and information sources about childhood fever management to parent’s pediatric fever management at the level of .05.  These findings suggest that nurses should encourage parent to have appropriate beliefs about pediatric fever management in order to manage the fever effectively and decrease risk of high fever in children

References

กรมการแพทย์. (2552). สถิติโรค. วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤษภาคม 2553, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2UYUX9g

คณะกรรมการจัดทำแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการกับภาวะไข้ในผู้ป่วยเด็ก หน่วยตรวจกุมาร งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. (2547). การจัดการกับภาวะไข้ในผู้ป่วยเด็ก. วันที่ค้นข้อมูล 14 มีนาคม 2553, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3BmfKUS

ชวนพิศ คชรักษ์. (2546). ประสิทธิผลการสื่อสารของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยโรงพยาบาลนครพงค์จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานิเทศศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

นฤมล คชเสนี. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานบางประการความสามารถในการดูแลบุตรที่มีไข้สูงและพฤติกรรมการดูแลบุตรที่มีไข้สูงของมารดาเด็กอายุ 3 เดือน ถึง 6 ปี. วารสารวิจัยทางการพยาบาล, 8 (1), 14-24

รุจา ภู่ไพบูลย์. (2541). การพยาบาลครอบครัว: แนวคิดทฤษฎีและการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : วีเจพริ้นติ้ง.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for behavioral sciences. New York: Academic Press.

Green. L. W., & Kreuter, M. (1999). Health promotion planning: educational and environmental approach. California: May field publishing.

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and coping. New York: Springer Publishing.

Osterman, K. F., & Kottkamp, R. B. (1993). Reflective practice for educators. California: Corwin Press.

Soper, D. (2009). Statistic calculator version 2.0. Retrieved December 28, 2009, from https://bit.ly/3hUpJsJ

Downloads

Published

2021-07-22