ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และพฤติกรรมการพยาบาลต่อมารดาวัยรุ่นของพยาบาลสูติกรรมในสถานพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนใต้

Attitudes toward Adolescent Pregnancy and Nursing Care Behavior for Adolescent Mothers of Obstetrict Nursesin the Three Southen Border Provinces of Thailand

Authors

  • ศศินาภรณ์ ชูดำ
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์

Keywords:

ทัศนคติ, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, พฤติกรรมการพยาบาล, พยาบาลสูติกรรม, Obstetric nurses, Attitudes

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ในวัยร่น และพฤติกรรมการพยาบาลต่อมารดาวัยรุ่นของพยาบาลแผนกสูติกรรมสถานพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนใต้ สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 230 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยแบบวัดทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และแบบวัดพฤติกรรมการพยาบาลต่อมารดาวัยรุ่นของพยาบาลซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .78 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี (x̅ = 2.26, SD = 0.49) และพฤติกรรมการพยาบาลของพยาบาลโดยรวมอู่ในระดับดี (x̅  = 3.45, SD = 0.38)  2) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ประสลการณ์ทำงานในแผนกสูติกรรม และการได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแตกต่างกันมีทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และพฤติกรรมการพยาบาลต่อมารดาวัยรุ่นไม่แตกต่างที่ระดับนัยสำคัญ .05  3) ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยรวมกับพฤติกรรมการพยาบาลต่อมารดาวัยรุ่นโดยรวมของลุ่มตัวอย่างไม่มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (r = .006) แต่พบว่า ทัศนคติด้านการดูแลมารดาวัยรุ่น มีความสัมพันธ์ทางวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการพยาบาลต่อมารดาวัยรุ่นด้านการรักษาความลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .183, p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ควรส่งเสริมทัศนคติ และพฤติกรรมการบริการในการดูแลมารดาวัยรุ่นของพยาบาลแผนกสูติกรรมที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้มารดาวัยรุ่นได้รับบริการที่มีคุณภาพ  The objective of this research was to examine attitudes toward adolescent pregnancy and nursing care behaviors for adolescent mothers among obstetric nurses working at public hospitals n the three southern border provinces. A random sample of 230 obstetric nurses was recruited in the study. Data were collected by self-report questionnaires developed by the researcher which included nurse’s attitude toward adolescent pregnancy questionnaire and nursing care behaviors for adolescent mother questionnaire. Cronbach’s alpha coefficients of both questionnaires were .78 and .86 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, t-test, ANOVA, and pearson’s product moment correlation. Alpha level of .05 was set as statistically significant. Results of the study revealed that: 1) Nurses had overall attitudes toward adolescent pregnancy at a fair level (x̅ = 2.26, SD = 0.49). Overall nursing care behaviors for adolescent mother were rated at a good level (x̅  = 3.45, SD = 0.38)  2) Nurses with different age, years of working experience in obstetric wards, and receiving continuing education on adolescent pregnancy had no significant difference in attitudes toward adolescent pregnancy and nursing care behaviors for adolescent mother at significant level of .05.  3) There was no significant relationship between overall attitudes toward adolescent pregnancy and nursing care behaviors for adolescent mother at significant level of .05 (r = .006). However, there was a low positive relationship between attitudes toward adolescent pregnancy in the aspect of caring for adolescent mother and nursing care behaviors for adolescent mother in the aspect of protection of confidentiality (r = .182, p = .006). Findings of the study suggest the needs for maintaining and promoting positive attitudes and nursing care behaviors for adolescent mothers among nurses to enhance high quality of care for adolescent mothers.

References

นงนุช บุญยัง และอับดุลเลาะห์ อับรู. (2549). พฤติกรรมการพยาบาลของบุคลากรที่หน่วยฝากครรภ์ตามการรับรู้ของหญิงตั้งครรค์ โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดปัตตานี. สงขลานครินทร์ เวชสาร, 23 (6) 435-444.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2544). การวิจัยเชิงปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยพัฒนาพานิช.

ศุภภนิตย์ พลไพรินทร์. (2540). ความรู้ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์ และพฤติกรรมของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยโรคเอดส์ในโรงพยาบาลของรัฐ. วันที่ค้นบทคัดย่อ 7 กุมภาพันธ์ 2554, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/36UL5Qs

ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา. (2553). ข้อมูลด้านส่งเสริมสุขภาพ (อนามัยแม่และเด็ก) ปี 2551-2553. นนทบุรี: พีเค แม็กซ์ดีไซด์.

สภาการพยาบาล. (2541). สิทธิของผู้ป่วย. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2553 เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3BuqmRF

Ajzen, I & Fishbein, M. (1980). Under-standing attitude and predicting social behavior. Englewood Cliffs, N.J: Prentice-Hall.

Masuku, N. (1998). Pregnancy among school girls at KwaMgaga high school Umlazi: Pupils perceptions and the school’s response. Durban: University of Natal.

Mpanza, D. & Nzima, R. (2010). Attitude of educators towards teenage pregnancy. Procedia Social and Behavioral Sciences, 5 (2010), 431-439. Retrieved January 4, 2011, from https://bit.ly/3ryOjCP

Warenius, U. et al. (2006). Nurse-Midwives’ attitude toward adolescent sexual and reproductive health need in Kenya and Zimbia Reprodutive Health Matters, 14 (27), 119-128. Retrieved October 8, 2010, from Science Direct database.

World Health Organization. (2006). Pregnant adolescents: Delivering on global promises of hope. Retrieved June 19, 2010, from https://bit.ly/3rpBaMc

Downloads

Published

2021-07-22