ความต้องการการดูแลตามวัฒนธรรมและความเชื่อวิถีอิสลาม และการดูแลที่ได้รับจริงในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดของสตรีมุสลิม

Cultural Care Needs and Islamic Beliefs and Actual Care Received During Antepartum, Intrapartum, and Postpartum Period Among Muslim Women

Authors

  • กัญญ์ชลา สาหมุน
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • สุนทราวดี เธียรพิเชฐ

Keywords:

วัฒนธรรมและความเชื่อ, สตรีมุสลิม, การดูแล, สตรีตั้งครรภ์, Musalim women, Actual care recevied

Abstract

            การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลตามวัฒนธรรม และวามเชื่อวิถีอิสลาม และการดูแลที่ได้รับจริง และเปรียบเทียบความต้องการการดูแลที่ได้รับจริงในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอกของสตรีมุสลิม ที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีมุสลิมที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา จำนวน 180 ราย จากการการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการการดูแล และการดูแลที่ได้รับจริงตามวัฒนธรรมละความเชื่อวิถีอิสลาม ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดอย่างละ 24 ข้อคำถาม ทดสอบความเที่ยงด้วยวิถี ดูเคอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .80 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สตรีมุสลิมมีความต้องการการดูแลตามวัฒนธรรมและความเชื่อวิถีอิสลามในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและระยะหลังคลอดโดยรงมอยู่ในระดับมาก ((x̅ = 23.62, SD = 0.94)  2) สตรีมุสลิมได้รับการดูแลตามจริงตามวัฒนธรรมและความเชื่อวิถีอิสลามในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด โดยรวมอยู่ในระกับมาก ((x̅ = 18.08, SD = 2.16)  3) จากการทดสอบไคสแควร์ในการเปรียบเทียบสัดส่วนความต้องการการดูแลตามวัฒนธรรมและวิถีอิสลาม และการดูแลที่สตรีมุสลิมได้รับจริง พบว่า โดยรวมมีสัดส่วนความต้องการการดูแลสูงกว่าการดูแลที่ได้รับจริง เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนรายข้อ พบว่าสัดส่วนความต้องการการดูแลสูงกว่าสัดส่วนการดูแลที่ได้รับจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 9 ใน 24 ข้อ  ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ในการดูแลสตรีมุสลิมในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด โดยเน้นประเด็นความต้องการการดูแลจำนวน 9 ข้อ ที่พบว่ามีสัดส่วนสูงกว่าการดูแลที่ได้รับจริง เพื่อตอบสนองความต้องการตามวัฒนธรรมและความเชื่อวิถีอิสลาม The purpose of this descriptive research was to examine and to compare cultural and Islamic beliefs care needs and actual care Muslim women received during antepartum, intrapartum, and postpartum period. A systematic random sample of 180 postpartum Muslim women receiving prenatal care and gave a birth at community hospitals, Songkhla province, was recruited. The questionnaire used to collect data included 24-item care needs and 24-item actual received care during antepartum intrapartum, and postpartum period. The internal consistent reliability of the questionnaire, using Kuder Richardson Coefficient, was .80. Descriptive statistics, and chi-square were used to analyze the data. The results showed that: 1) The overall cultural and Islamic beliefs care needs of Muslim women during antepartum, intrapartum, and postpartum period was at high level ((x̅ = 23.62, SD = 0.94)  2) The overall actual care Muslim women received during antpartum, intrapartum, and postpartum period was at high level ((x̅ = 18.08, SD = 2.16)  3) Using chi square test for comparison there were 9 from 24 items of cultural and Islamic beliefs care needs significantly higher than actual care provided for Muslim women.  Findings of this study could be used to guide the development of clinical nursing practice guideline (CNPG) to provide care for Muslim women during pregnancy, intrapartum, and postpartum period focusing on the mentioned 9 items of care needs to serve Islamic culture and beliefs.

References

กิติมา อมรทัต. (2541). เมื่อดอกไม้บาน รวมบทความเกี่ยวกับสตรีและเด็กในอิสลาม. กรุงเทพฯ: อิสลามิค อะเคเดมี.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2552). การพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก. วันที่ค้นข้อมูล 29 มิถุนายน 2552, เข้าถึงได้จาก http://www.Anamai.Moph.go.th

ดารณี อ่อนชมจันทร์ และสุธน พรบัณฑิตปัทมา. (2548). แนวคิดการจัดทำชุดโครงการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดระบบการดูแลมารดาและทารกชาวไทยมุสลิม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น. มปท.

บรรจง บินกาซัน. (2542). ระบอบชีวิตอิสลาม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อัลอะมีน.

มาลี แซ่อุน. (2548). ประสบการณ์การดูแลตนเองของหญิงไทยมุสลิมที่ถือศีลอดระหว่างตั้งครรภ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันเพ็ญ พิชิตพรชัย. (2541). การพยาบาลกับความต่างทางวัฒนธรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์, 16 (1), 1-6

วันเต็ม สังข์ขาว. (2544). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการการคลอดของมารดามุสลิมวัยรุ่นมุสลิมจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Callister, L., C. (2003). Culture meanings of childbirth. Journal of Obstetric, Gynecology, and Neonatal Nursing, 24 (4), 327-331.

Khalaf, I., & Callister, L. C. (1997). Cultural meaning of childbirth Muslim women living in Jordan. Journal of Holistic Nursing. 15 (4), 373-388.

Leininger, M. (1995). Transcultural nursing concept: Theories, research & practices (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

Published

2021-07-22