Factors Influencing Stress among Mothers of Preterm Infant Hospitalized in Neonatal Intensive Care Unit

Authors

  • Paichit Amsri
  • Wannee Deoisres
  • Wantana Suppaseemanont

Keywords:

maternal stress, preterm, intensive care unit, preterm birth weight, ความเครียดของมารดา, คลอดก่อนกำหนด, ทารกแรกเกิด, น้ำหนักตัวทารก, ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน

Abstract

          This study aimed to examine level of stress and identify influencing factors of maternal stress which included nursing support, preterm birth weight, delivery type, and experience of having premature birth. A convenience sample of 90 mothers with preterm infant hospitalized in neonatal intensive care unit, Roi-Et regional hospital, was recruited. Data were carried out from March to May 2018. Research instruments included a demographic questionnaire, a medical record form, the Nurse Parent Support tool, and the Parental Stressor Scale. Descriptive statistics and standard multiple regression analysis were employed to analyze the data.          Results showed the mean score of overall maternal stress was 69.12 (SD = 11.57), where 68% of the mothers reported high level of stress. All predictors accounted for 44.2% of variance prediction in maternal stress. Only preterm birth weight (β = -0.61) and emergency caesarean section (β = .27) were significantly predicted. NICU nurses can discourse these concerns and emotional state with empathetic information skills and being mindful of the importance of involving the mothers as much as possible in their preterm care.           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของมารดาที่มีบุตรเกิดก่อนกำหนดเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวก ได้แก่ มารดาของทารกที่เกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด จำนวน 90 ราย ของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เก็บข้อมูลเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประวัติการคลอด แบบประเมินความเครียดของมารดาหลังคลอด และแบบประเมินการสนับสนุนจากพยาบาลของบิดามารดาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน          ผลการวิจัยพบว่ามารดาส่วนใหญ่มีความเครียดระดับสูง คะแนนความเครียดเฉลี่ย 69.12 (SD = 11.57) และร้อยละ 68 ของมารดารายงานว่ามีความเครียดในระดับสูง ปัจจัยทำนายทุกตัวรวมกันมีอิทธิพลต่อความเครียดของมารดาร้อยละ 44.2 น้ำหนักตัวทารก (β = -.61) และการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน (β = .27) เท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติ พยาบาลที่ดูแลมารดาขณะตั้งครรภ์ควรส่งเสริม ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของทารกคลอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมที่อาจปรากฏ ตลอดจนส่งเสริมโปรแกรมเพื่อลดความเครียดหลังคลอดทารกก่อนกำหนด

Downloads