การเปรียบเทียบรูปแบบการขายอินโคเทอมระหว่างทางทะเลและทางบก : กรณีศึกษาการส่งออกน้ำตาลบรรจุกระสอบ

INCOTERMS COMPARISONS BETWEEN SEA AND LAND: CASE STUDY OF EXPORT BAGGED SUGAR

Authors

  • ปวีณา รุ่งสุวรรณรัชต์

Keywords:

Incoterm, น้ำตาล, รถบรรทุก, ตู้คอนเทนเนอร์, เรือตู้คอนเทนเนอร์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนของผู้ขายในการขายอินโคเทอมระหว่างทางทะเลและทางบกและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการขายและการซื้อรูปแบบอินโคเทอมทางทะเลและทางบก โดยกรณีศึกษาเป็นบริษัทผู้ส่งออกน้ำตาลรายหนึ่งของประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีสำรวจข้อมูลปฐมภูมิเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบกจากบริษัทกรณีศึกษา บริษัทสายเรือขนส่งสินค้าทางทะเลและบริษัทขนส่งสินค้าทางบกจากประเทศไทยไปประเทศกัมพูชา แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ต้นทุน เพื่อนำมาเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายอินโคเทอมระหว่างทางทะเลและทางบกแล้วนำข้อมูลไปสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ขายและผู้ซื้อที่มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบอินโคเทอมรูปแบบต่างๆ จำนวนรวม 16 ท่าน ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนของผู้ขายในการขายอินโคเทอมทางทะเลมีค่าใช้จ่ายประหยัดกว่าต้นทุนการขายอินโคเทอมทางบก และปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกรูปแบบอินโคเทอมของผู้ขายมากที่สุดคือ ความรับผิดชอบของผู้ซื้อปลายทางและระบบการขายน้ำตาล ถึงแม้ผู้ขายจะสามารถสร้างกำไรจากส่วนลดค่าขนส่งสินค้าได้ แต่ผู้ขายยังคงยืนยันไม่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบการขายอินโคเทอมเป็นรูปแบบอื่น เนื่องจากนโยบายของบริษัท, ความสะดวกสบายในการขายสินค้า, ความต้องการระบายสินค้า, ระบบโลจิส ติกส์ของบริษัทและสถานที่รับสินค้าปลายทางของผู้ซื้อ  The objective of this research is to propose the cost and the factor which is choose for sell and buy incoterm comparison between sea and land for the shipper sugar mill and distributor was selected for this study, Methodology use primary data the cost for Sea freight and Land Freight from Thailand to Cambodia Second, Cost Analysis comparison between Sea freight and land Freight and interview 16 people with seller and buyer who can make a decision to choose and can use incoterms. Respectively, After comparison the cost incoterm found out that Sea Freight save cost more than Land Freight and the factor mostly opinions is Buyer’s responsibility and sugar sale system. Although Seller can make profit from freight rate if they change the incoterm to be CFR and CIF but the seller still not change to sell for another term due to company policy, Convennience caused, Release product, internal company logistic and place of destination.

References

กรมศุลกากร. (2561). ความเป็นมาของ INCOTERM 2010, วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.customs.go.th/content.php?ini_content=customs_valuation_03&ini_menu=menu_customs_value&lang=th&left_menu=menu_customs_value_03

กรมการขนส่งทางบกกระทรวงคมนาคม. (2556). คู่มือ “เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการขนส่งไทยสู่อาเซียน” กรมการขนส่งทางบกกระทรวงคมนาคม, วันที่ค้นข้อมูล 18 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER1/DRAWER060/GENERAL/DATA0000/00000 048.PDF

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2561). ประเทศกัมพูชา, วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/221327/221327.pdf

กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ และคนอื่นๆ. (2556). การจัดการโลจิสติกส์. กรุงเทพมหานคร: แมคกรอ-ฮิล อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพรส์ อิงค์.

กุลกานต์ ศรนารายณ์. (2551). การวิเคราะห์โลจิสติกส์การนำเข้าเหล็กเส้นแบนระหว่าง CIF และ FOB , วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา), จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ปิยะกรณ์ สุนทรวัฒน์. (2553). ปัจจัยในการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคด้วยรถบรรทุก., วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรวีร์ คล้ายเคลื่อน. (2544). การนำกฎหมายของนายวาณิชย์ (lex mercatoria) มาใช้ในการระงับข้อพิพาทโดยศาลไทย: ศึกษาเฉพาะกรณี INCOTERMS 2000. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วลัยพันธ์ เธียรไทย. (2549). การวิเคราะห์ต้นทุนทางโลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้า ,วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์ สหสาขาวิชา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิศิษฎ์วธู สุวรรณพันธ์มณี. (2547). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการขายเทอมซีเอฟอาร์ : กรณีการส่งออกข้าวบรรจุกระสอบ ,วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์ สหสาขาวิชา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศันสนีย์ ศิริธนากิจ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกผู้ผลิต เงื่อนไขการค้า และรูปแบบการซื้อขาย สำหรับวัตถุแต่งกลิ่นรสอาหาร, วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงคราม อาฮูวารี. (2546). ความเหมาะสมของการส่งออกยางพาราด้วยเรือชายฝั่ง, วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ สหประภา. (2555). การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจากประเทศไทยไปสหภาพยุโรป, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์ สหสาขาวิชา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกพล ประไพทรัพย์สกุล. (2549). การขนส่งสินค้าน้ำตาลถุงต่อเนื่องหลายรูปแบบจากประเทศไทยไปกัมพูชา, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์ สหสาขาวิชา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

Published

2022-11-25