ขีดความสามารถในการรองรับทางนิเวศวิทยาของการขนส่งสินค้าเทกองแห้ง ในบริเวณเกาะสีชังจังหวัดชลบุรี

ECOLOGICAL CARRYING CAPACITY FOR DRY BULK LOADING AROUND SICHANG ISLAND, CHONBURI PROVINCE

Authors

  • อารยา สยามรัตนกิจ
  • สมภพ รุ่งสุภา
  • อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์

Keywords:

สินค้าเทกอง, ขีดความสามารถในการรองรับ, เกาะสีชัง, Dry bulk loading

Abstract

การขนส่งสินค้าทางน้ำเป็นการขนส่งที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานและมีต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าจำนวนมากที่ขนส่งต่อครั้ง จังหวัดชลบุรีโดยเฉพาะพื้นที่รอบๆ เกาะสีชังมีพื้นที่ที่ความเหมาะสมต่อกิจกรรมการขนถ่ายสินค้า สินค้าเทกองแห้งที่เป็นอันตรายใช้ขนถ่ายสินค้าส่วนใหญ่เป็นการขนถ่ายระหว่างเรือด้วย grab ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นผงขนาดเล็กตกลงสู่ทะเล รวมทั้งการล้างเศษผงของสินค้าจากกราบเรือลำเลียงลงสู่ทะเลซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและดินตะกอนรอบบริเวณที่มีการขนถ่ายสินค้าได้และกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศทางทะเลรอบเกาะสีชังได้ ดังจะเห็นได้จากการที่มีรายงานถึงปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำที่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในบริเวณด้านตะวันออกของเกาะสีชังรวมถึงการสะสมของอินทรียสารในดินตะกอนและความเสื่อมโทรมของแนวปะการังในบริเวณใกล้เคียงกับจุดจอดเรือสินค้าซึ่งในระยะยาวจะมีผลต่อความสามารถในการรองรับกิจกรรมการขนส่งทางทะเลของพื้นที่เกาะสีชังลดลงซึ่งการแก้ไขปัญหาอาจต้องคำนึงถึงเรื่องทางกฎหมายและการจัดการ โดยเฉพาะการจัดการกับการปล่อยทิ้งขยะจากเรือเดินทะเล การจัดระเบียบหรือกำหนดพื้นที่จอดเรือที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าในทะเลให้มีระยะทางห่างจากฝั่งหรือพื้นที่ชุมชนเพื่อลดผลกระทบจากการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากการขนถ่ายสินค้าเทกองเพื่อลดฝุ่นละอองขณะขนถ่าย  Sea freight is a popular transportation and has low cost compared to the bulk volume shipped at a time. Around Koh Sichang has an area suitable for cargo handling activities. A dangerous dry bulk which is unloaded between ships with a grab, causing a scattering of small dust to fall into the sea. Including the washing of debris from the bowels to the sea which may affect the quality of water and sediment around the loading area. It can affect life in the marine ecosystem around Koh Sichang. From reports have below-benchmark dissolved oxygen content in the eastern part of Koh Sichang, as well as the accumulation of organic matter in the sediment and degradation of coral reefs in close proximity to cargo ship which in the long run will affect the ability to support the sea transportation activities of the island area decreases. Solving problems may have legal and administrative concerns especially dealing with the emission of litter from marine vessels, organizing or setting mooring areas used for loading and unloading cargo in sea at a distance from shore or community area in order to reduce the impact of dust diffusion from bulk cargo handling.

References

กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2547). กลยุทธ์บริหารธุรกิจการขนส่งสินค้าทางเรือ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พับลิคโฟโต้และโฆษณา.

กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2553). การขนส่งสินค้าทางทะเล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ท้อป.

กรมเจ้าท่า. (2562). รายงานสถิติข้อมูลการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทางน้ำปี 2562 ประจำปีงบประมาณ 2563 (ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทางน้ำ). วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึงจาก https://www.md.go.th/stat/images/pdf_report_stat/2563/year_62.pdf

กรมควบคุมมลพิษ. (2557). โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและภาวะมลพิษกรณีการขนส่งสินค้าบริเวณเกาะสีชังเพื่อประเมินศักยภาพและผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการเป็นเขตขนส่งสินค้าระดับภูมิภาคเพื่อรองรับการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งประเทศไทย พ.ศ.2562.

กองกฎหมาย. (2558). พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558. วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึงจาก https://www.dmcr.go.th/detailLib/2003

จุฑามาศ กาญจนไพโรจน์. (2554). แนวทางการวางแผนภูมิทัศน์ด้วยการประยุกต์แบบจำลองเชองปริภูมิของขีดความสามารถในการรองรับทางนิเวศวิทยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,สาขาภูมิสถาปัตยกรรม, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เทศบาลตำบลเกาะสีชัง. (2561). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเกาะสีชัง. วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึง จาก https://www.kohsichang.go.th

พรเทพ พรรณรักษ์ และอานุภาพ พานิชผล. (2560). ความหลากหลายทางนิเวศวิทยาและสายใยอาหารของสิ่งมีชีวิตในมวลน้ำและสิ่งมีชีวิตพื้นทะเลบริเวณชายฝั่งเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย. กรุงเทพมหานคร

ภูวณัฎฐ์ รอบคอบ. (2562, 1 กรกฎาคม). นักวิชาการสุขาภิบาลรักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ เทศบาลตำบลเกาะสีชัง. สัมภาษณ์

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2562). แผนที่ปะการัง พ.ศ.2562. ห้างหุ้นส่วนจำกัดสิทธิโชค พริ้นติ้ง

สรสิทธิ์ เภตรา. (2562, 19 สิงหาคม).ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเกาะสีชัง. สัมภาษณ์

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2456). พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456. วันที่ค้นข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึงได้จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A116/%A116-20-9999-update.pdf

Fu, Q., Wang, Z., & Jiang, Q. (2011). Comprehensive Evaluation of Regional Agriculutural Water and Land Resources Carrying Capacity Based on DPSIR Concept Framework and PP Model. Paper presented at the Computer and computing Technologies in Agriculture V, Beijing, China.

Shao, C., Guan, Y., Chu, C., Shi, R., Ju, M., & Shi, J. (2014). Trends Analysis of Ecological Environment Security Based on DPSIR Model in the Coastal zone : A survey study in Tianjin, China International journal of Enviromental research, 8(3), 765-778.

SALIKA. (2562). ‘เกาะสีชัง’ เขตเศรษฐกิจกลางทะเล ‘ฮับ’ โลจิสติกส์แห่งอินโดจีน. วันที่ค้นข้อมูล 27 กรกฎาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.ex-mba.buu.ac.th/webJGSC/Submission4.html

Wei, C., Guo, Z., Wu, J., & Ye, S. (2014). Constructing an assessment indices system to analyze integrated regional carrying capacity in the coastal zones - A case in Nantong. Ocean & Coastal Management, 93, 51-59.

Downloads

Published

2022-11-25