ผลกระทบระหว่างความผูกพันทุ่มเทของพนักงานที่มีต่องาน คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อการตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

THE EFFECTS AMONG WORK ENGAGEMENT, QUALITY OF WORK LIFE AFFECTING INTENTION RESIGNATION OF EMPLOYEE IN AN AUTOMOTIVE PART MANUFACTURING COMPANY AT LAEMCHABANG INDUSTRIAL ESTATE, CHON BURI PROVINCE

Authors

  • ณรงค์ เพียรจตุรัส
  • อัควรรณ์ แสงวิภาค

Keywords:

ความผูกพัน, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความตั้งใจลาออก, นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง, บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานที่เกี่ยวกับ ความผูกพันทุ่มเทของพนักงานที่มีต่องาน และคุณภาพชีวิตในการทำงานและการตั้งใจลาออก 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของความผูกพันทุ่มเทของพนักงานที่มีต่องาน ที่ส่งผลต่อการตั้งใจลาออกจากงานของพนักงาน 3) เพื่อศึกษาผล กระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่ส่งผลต่อการตั้งใจลาออกจากงานของพนักงาน 4) เพื่อศึกษาผล กระทบของความผูกพันทุ่มเทของพนักงานที่มีต่องาน คุณภาพชีวิตในการทำงานส่งผลต่อการตั้งใจลาออกจากงานของพนักงาน ของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นจำนวน 318 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน ร้อยละ จำนวนความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ผลกระทบด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของความผูกพันทุ่มเทของพนักงานที่มีต่องาน (WE) มีระดับที่มาก และคุณภาพชีวิตในการทำงาน (QWL) ที่อยู่ในระดับที่ดี ส่วนการตั้งใจลาออกผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับที่น้อยถึงปานกลาง 2) ความตั้งใจลาออกจากองค์การที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก ความผูกพันทุ่มเทของพนักงานที่มีต่องานที่ลดลง 3) ความตั้งใจลาออกจากองค์การที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ลดลง และ 4) ความตั้งใจลาออกจากองค์การที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก คุณภาพชีวิตในการทำงาน ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน และความผูกพันทุ่มเทของพนักงานด้านความเต็มใจอุทิศตนให้กับงานที่ลดลง  The purpose of this study were to 1) to investigate levels of the work engagement, quality of work life and intention resignation of employee 2) evaluate the stimuli that effects among work engagement affecting intention resignation of employee 3) evaluate the stimuli that effects among quality of work life affecting intention resignation of employee 4) evaluate the stimuli that effects among work engagement, quality of work life affecting intention resignation of employee. The samples used in this study are 318 employees in an automotive part manufacturing company at LaemChabang industrial estate, Chon Buri province. The statistical analysis used in this research was consisted inferential statistics i.e. evaluate the stimuli that effects was analyzed by multiple regression analysis.  The result of research revealed that: 1) overall, work engagement (WE) and quality of work life (QWL) of employee’s were in a high level and intention resignation of employee were a low level; 2) the stimuli that increased intention resignation as a result of the reduced work engagement of employees to the job ; 3) the stimuli that increased intention resignation as a result of the reduced quality of work life of employees to the job and 4) the stimuli that increased intention resignation as a result of the reduced work engagement and quality of work life of employees to the job.

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Online) https://www.ieat.go.th/online-service/industrial-list. 1 กันยายน 2562

กิตติมา พันธ์พุทธรัตน์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึ่งพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงาน และความตั้งใจในการลาออกจากงานของพนักงาน บมจ. ธนาคารกสิกรไทย เครือข่ายการบริการและการขาย 1 เขตการบริการและการขาย 1 วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร

เกตุนภัส เมธีกสิวัฒน์. (2555). ความสัมพันธ์ของความผูกพันทุ่มเทของพนักงานที่มีต่องาน และองค์การกับความตั้งใจลาออกของพนักงาน ในธุรกิจโรงแรมจังหวัดนครราชสีมา. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

จิกาญจนา พันธ์ศรีทุม. (2559). อิทธิพลของปัจจัยด้านความยึดมั่นผูกพันในงาน ความผูกพันต่อองค์การและความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง วิทยานิพนธ์ศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาสาขาวิชาจิตวิทยาอุสาหกรรมและองค์การคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณปภัช นาคเจือทอง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐธยาน์ อำไพวงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลาออก (เปลี่ยนนายจ้าง) ของพนักงานขับรถขนส่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด และนิคมอมตะซิตี้จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ. (2561). “ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคม

อุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 14-26.

ธัญชนก ทิมกระจ่าง. (2559). ความพึงพอใจในงานและความผูกพันองค์การ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา ในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ธัญญามาศ ปัญญายิ่ง. (2559). อิทธิพลของทุนทางจิตวิทยาด้านบวกคุณ ภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจให้คำปรึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหา สาขาวิชาจิตวิทยาอุสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญ บิสซิเนส อาร์ แอนด์ ดี.

ธีรภัทร วาณิชพิทักษ์. (2555). การศึกษาความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทร่วมเจริญ พัฒนา จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

นิตยา กัณณิกาภรณ์. (2553). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เนติวุฒิ ยาวุฑฒิ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานบริษัท มิตซุย ไฮยีน แมททีเรียลส์ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปนิตา เหล่าจันทร์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมการเผชิญปัญหากับพฤติกรรมการให้บริการของพนักงานขายในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปวีณรัตน์ สิงหภิวัฒน์. (2556). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ปัญญาพร ฐิติพงศ์. (2559). “แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทก่อสร้าง กรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด.”Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 1275-1292.

ปาริชาติ เยพิทักษ์. (2559). “การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความพอใจในงาน ความผาสุกขององค์การ.” Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 643-654.

เปรมจิตร คล้ายเพชร. (2548). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การความยุติธรรมองค์การ ที่มีผลต่อความผูกพันองค์การและความตั้งใจลาออก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์เทพ เงาะด่วน. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ (ดอนเมือง). การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

พรพิตรา ธรรมชาติ. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงาน และ ความตั้งใจในการลาออกของผู้แทนขายระดับ บังคับบัญชาของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาสาขาวิชาจิตวิทยาอุสาหกรรมและองค์การคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มุทิตา คงกระพันธ์. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การผ่านความผูกพันต่อองค์กรและความพึงพอใจในงาน ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รชฏ ชยสดมภ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

รัชมงคล ค้ำชู้. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่าง คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึก และอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

รุจิรา เชาว์สุโข. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

วธู สวนานนท์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงาน คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันของพนักงานต่อองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

วรรณวิสา ดำรงสกุลวงษ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานในอุตสาหกรรมฟอกหนังกรณีศึกษา บริษัท อินเตอรไฮค์ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.

วรางคณา แก้วมณี. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความยึดมั่นผูกพันในงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราพร วันไชยธนวงศ์. (2560). แนวทางการสอนแนะเพื่อพัฒนาการผลิตผลงานวิจัยในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 12(2), 122-128.

วาณิชญา มานิสสรณ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานการรับรู้บรรยากาศองค์การ กับความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศศิ อ่วมเพ็ง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานระดับบังคับบัญชาสำนักงานบัญชีกลาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สลักจิต ตันติบุญทวีวัฒน์. (2556). อิทธิพลของความเป็นส่วนหนึ่งในงาน ความพึงพอใจในงานและความผูกพันกับองค์การต่อความตั้งใจลาออก. บัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อธิพัชร์ กอบรัตนสวัสดิ์. (2561). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การส่งผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพนักงานในบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เขตนิคมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อำนาจ ธีระวนิช. (2553). การจัดการยุคใหม่ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อิสรา วรกุลเกียรติ์. (2560). ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน และด้านการกำหนดตนเองที่ส่งผลต่อแรงจูงใจภายใน และความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานประจำและแรงงานรับเหมาในองค์การผู้ผลิตในสวนอุตสาหกรรมสหพัฒน์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 191-215.

Bandura, A. (1982). The assessment and predictive generality of self-percepts of efficacy. Journal of Behavior Therapy and Experimental Psychiatry, 13, 195-199.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Bandura, A. (1997). A Self – Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company.

Baskar, P. and K. R. Rajkumar. (2015). A study on the impact of rewards and recognition on employee motivation. International Journal of Science and Research, 4(11), 1644-1648.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York: Harper and Row. Hair, J. F., W. C. Black, B. J. Bain, R. E. Anderson, and R. L. Tatham. (2010). Multivariate Data Analysis (6th ed.). Upper Saddle River. NJ: Pearson Education International.

Kenioua, M. and E. K. Boumasjed. (2016). Self-efficacy, achievement motivation and anxiety of elite athletes. IOSR Journal of Sports and Physical Education. 3. 2347-6745.

Lestariningsih, M. (2017). Self efficacy and achievement motivation on performance with perceived organizational support moderation. Advances in Intelligent System Research, 131, 81-85.

Sherer, M., J. E. Maddux, B. Mercandante, S. Prentice-Dunn, B. Jacobs, and R. W. Rogers. (1982). The self-efficacy scale: construction and validation. Psychological Reports, 51, 663-671.

Downloads

Published

2022-11-25