ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสมาชิกสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน

THE RELATIONSHIP BETWEEN MOTIVATION AND WORK EFFICIENCY OF THE ASSOCIATE PRIVATE POWER PRODUCER EMPLOYEE

Authors

  • สุวิทย์ ปี่เงิน
  • กิติยา ทัศนะบรรจง

Keywords:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน, บุคลากร, การปฏิบัติงาน

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสมาชิกสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสมาชิกสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสมาชิกสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรของสมาชิกสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน 368 คน ผลการทดสอบพบว่า 1) พนักงานมีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 2) พนักงานมีระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 3) ระดับแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ  The purpose of this research were 1) to study motivation levels of the employees of the associate private power producer employee 2) to study work efficiency levels of the employees of the associate private power producer employee 3) to study relationship between motivation and work efficiency of the associate private power producer employee. The sample size of this study was 368 employees of the associate private power producer employee.  The test results showed that 1) The motivation levels of the employees of the associate private power producer employee at a high level with the mean of 4.08 2) efficiency levels of the employees of the associate private power producer employee at a high level with the mean of 4.03 3) relationship between motivation and work efficiency of the associate private power producer employee at the 0.01 level of significance, including achievement motivation, recognition motivation and work itself motivation.

References

กัลยา ยศคำลือ. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, (2563). บทวิเคราะห์ธุรกิจไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า. (Online) www.dbd.go.th/download/document_file/ Statisic/2563/T26/T26... 4 มกราคม 2564.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2562). “EGAT Academy” (Online) https://www.egat.co.th. 4 มกราคม 2564.

เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานและลูกจ้างองค์การคลังสินค้า. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เจษจรัส นามอาษา. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชมชาย ศิวะโกเศศ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฐพงศ์ แสนแก้ว. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานขายบริษัทประกันชีวิต XYZ ที่ปฏิบัติงานที่ สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร. การประชุม นำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 ปี การศึกษา 2560, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธนัฏฐา ทองหอม. (2556). อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคคลกรชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหาธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2562-2564 ธุรกิจผลิตไฟฟ้า. วารสารวิจัยกรุงศรี.

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสาธารณะ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บรรยงค์ โตจินดา. (2542). องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ประชาชาติธุรกิจ, (2561). ธุรกิจพลังงาน. (Online) https://www.prachachat.net/. 4 มกราคม 2564.

ปวีณรัตน์ สิงหภิวัฒน์. (2557). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

พัชราภรณ์ บุญเรือง. (2560). ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.

ภัทรนันท์ ศิริไทย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง.

ราณี อิสิชัยกุล. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิภาวรรณ เส็งสาย. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในพื้นที่ จังหวัด นครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศักรินทร์ นาคเจือ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงาน ทหาร. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน. (2562). ประวัติความเป็นมา. (Online). http://www.appp.or.th/ 20 ธันวาคม 2562.

Dimistris Manolopoulos. (2006). An evaluation of employee motivation in the extended public sectror in Greece (Online). Available from: http://tdc.thailis.or.th

Herzberg. (1967). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.

Kanter, Rasabeth M. (1999). Commitment and Social Organizational : A Study of Commitment Machanisms in Utopain Commitment. AmericanJournal of ociological Reviev.

Nadeem Iqbal, Naveed Ahmad, (2013) Zeeshan Haider, Yumna Batool and Qurat-ul-ain. “Impact of performance appraisal on employee’s performance involvingthe oderating Role of Motivation”. Baha Uddin Zakariya University Multan, Pakistan

Petersen and E.G. Plowman, (1953). Business Organization and Management. Illinois: Irwin.

Downloads

Published

2022-11-25